ระบบสารสนเทศเพื่อการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเชิงพื้นที่
ประวัติความเป็นมาของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
          โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพเกิดจากข้อเสนอแนะของ คณะผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมสุขภาพ และสุขศึกษา ขององค์การอนามัยโลก ที่ต้องการปรับเปลี่ยนโครงการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ ในโรงเรียน เพื่อตอบสนองต่การป้องกันปัญหาสุขภาพอนามัย ของประชาชน จากโรคไม่ติดต่อ ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น และเพื่อต้องการให้แต่ละประเทศ หันมาทุ่มเทกัยการศึกษา องค์การอนามัยโลกภาคพื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEARO) จึงได้ร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงศึกษาธิการ จัดประชุม Intercountry Consultation on Health Promoting Schools เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2540 ณ กรุงเทพมหานคร ที่ประชุมได้เสนอแนวคิด หลักการ และแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ทุกประเทศเห็นด้วย ในแนวทางที่เสนอ พร้อมทั้งได้ร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ การสร้างเครือข่ายโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับประเทศ เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร และทรัพยากรร่วมกัน
          สำหรับประเทศไทย กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมอนามัย ได้รับแนวคิดของโครงการ และกำหนดเป็นกลยุทธ์หนึ่ง ของการพัฒนาสุขภาพอนามัยของประชาชน แต่เนื่องจากการดำเนินงาน ต้องมีการประสานงานตั้งแต่ ระดับนโยบาย และระดับผู้บริหารของกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย ตลอดจนกระทรวงอื่นๆ และองค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงได้เสนอให้มีการแต่งตั้ง คณะกรรมการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพแห่งชาติขึ้น พร้อมทั้งได้ประชุมระดมความคิด ในการดำเนินงาน ระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในปี 2541 ซึ่งมีมติร่วมกันที่จะร่วมพัฒนาโรงเรียนทุกโรง ให้เป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
อนามัยมีเดีย
การจัดบริการอาหารกลางวัน
ระบบการจัดการอาหารในโรงเรียน
ขอบคุณสื่อมัลติมีเดียจาก
โครงการเด็กไทยแก้มใส ถวายเจ้าฟ้านักโภชนาการ
สถานีวิทยุและโทรทัศน์สุขภาพแห่งชาติ Healthstation
infographic
1. เกณฑ์มาตราฐานการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ


องค์ประกอบที่ 1 นโยบายของโรงเรียน
ตัวชี้วัด  เกณฑ์
การกำหนดนโยบายส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน
1. มีการแต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนหรือคณะทำงาน ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร ซึ่งประกอบด้วยครู นักเรียน ผู้ปกครอง เจ้าหน้าที่สาธารณสุข และผู้แทนองค์กรในชุมชน
คณะกรรมการหรือคณะทำงาน มีสัดส่วนอย่างน้อย 3 ใน 5 มาจากประชาชนและองค์กรในชุมชน
2. โรงเรียนมีนโยบายส่งเสริมสุขภาพที่ครอบคลุมประเด็น ดังต่อไปนี้
1) การส่งเสริมสิ่งแวดล้อมทาง กายภาพและทางสังคมที่เอื้อต่อ การพัฒนาสุขภาพนักเรียน
2) การส่งเสริม เฝ้าระวัง และ แก้ไขปัญหาสุขภาพ
3) การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตาม สุขบัญญัติแห่งชาติ
4) การคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน
5) การส่งเสริมสุขภาพจิตและเฝ้าระวัง พฤติกรรมเสี่ยง
6) การพัฒนาระบบการเรียนรู้ด้าน สุขภาพโดยมีผู้เรียนเป็นสำคัญ
7) การส่งเสริมสุขภาพบุคลากร ในโรงเรียน
8) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาสุขภาพนักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและชุมชน
8 ประเด็น
การถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติ 3. มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม รองรับนโยบายส่งเสริมสุขภาพ 8 ประเด็น
4. บุคลากรในโรงเรียนทราบนโยบาย ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ทุกคน
5. ผู้ปกครองและชุมชนทราบนโยบายหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ 60 ขึ้นไป
6. นักเรียนทราบนโยบายหรือกิจกรรม ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ 80 ขึ้นไป

องค์ประกอบที่ 2 การบริหารจัดการในโรงเรียน
ตัวชี้วัด  เกณฑ์
การจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพ
1. มีการจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพอย่างเป็นระบบครบทุกขั้นตอนต่อไปนี้
- มีการรวบรวม วิเคราะห์ปัญหาและความต้องการโดยใช้กระบวนการกลุ่ม
- มีความสอดคล้องกับสภาพปัญหาของโรงเรียน
- มีการระบุกิจกรรมและกำหนดเวลา
- มีการระบุถึงการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง
- มีการระบุการใช้ทรัพยากรและ/หรือภูมิปัญญาท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์
- มีการระบุกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนการสอน
คณะกรรมการหรือคณะทำงาน มีสัดส่วนอย่างน้อย 3 ใน 5 มาจากประชาชนและองค์กรในชุมชน
2. โรงเรียนมีนโยบายส่งเสริมสุขภาพที่ครอบคลุมประเด็น ดังต่อไปนี้
1) การส่งเสริมสิ่งแวดล้อมทาง กายภาพและทางสังคมที่เอื้อต่อ การพัฒนาสุขภาพนักเรียน
2) การส่งเสริม เฝ้าระวัง และ แก้ไขปัญหาสุขภาพ
3) การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตาม สุขบัญญัติแห่งชาติ
4) การคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน
5) การส่งเสริมสุขภาพจิตและเฝ้าระวัง พฤติกรรมเสี่ยง
6) การพัฒนาระบบการเรียนรู้ด้าน สุขภาพโดยมีผู้เรียนเป็นสำคัญ
7) การส่งเสริมสุขภาพบุคลากร ในโรงเรียน
8) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาสุขภาพนักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและชุมชน
8 ประเด็น
การถ่ายทอดนโยบายสู่การปฏิบัติ 3. มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม รองรับนโยบายส่งเสริมสุขภาพ 8 ประเด็น
4. บุคลากรในโรงเรียนทราบนโยบาย ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ทุกคน
5. ผู้ปกครองและชุมชนทราบนโยบายหรือกิจกรรมที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ 60 ขึ้นไป
6. นักเรียนทราบนโยบายหรือกิจกรรม ที่เกี่ยวกับการส่งเสริมสุขภาพ ร้อยละ 80 ขึ้นไป

องค์ประกอบที่ 3 โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน
ตัวชี้วัด  เกณฑ์
1. โครงการที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพเกิดจากการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน สัดส่วน 4 ใน 5 ขึ้นไปของโครงการด้านสุขภาพทั้งหมด
2. โรงเรียนมีนโยบายส่งเสริมสุขภาพที่ครอบคลุมประเด็น ดังต่อไปนี้
1) การส่งเสริมสิ่งแวดล้อมทาง กายภาพและทางสังคมที่เอื้อต่อ การพัฒนาสุขภาพนักเรียน
2) การส่งเสริม เฝ้าระวัง และ แก้ไขปัญหาสุขภาพ
3) การพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพตาม สุขบัญญัติแห่งชาติ
4) การคุ้มครองผู้บริโภคในโรงเรียน
5) การส่งเสริมสุขภาพจิตและเฝ้าระวัง พฤติกรรมเสี่ยง
6) การพัฒนาระบบการเรียนรู้ด้าน สุขภาพโดยมีผู้เรียนเป็นสำคัญ
7) การส่งเสริมสุขภาพบุคลากร ในโรงเรียน
8) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาสุขภาพนักเรียน บุคลากรในโรงเรียนและชุมชน
5 ขั้นตอน
3. โรงเรียนจัดกิจกรรมภายนอกโรงเรียนเพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมพัฒนาสุขภาพของคนในชุมชน มีการจัดกิจกรรมในชุมชน
4. โรงเรียนร่วมกับชุมชนพัฒนาพื้นที่เพื่อดำเนินกิจกรรมสร้างสรรค์สำหรับเด็กและเยาวชน มีพื้นที่และกิจกรรมสำหรับเด็กและเยาวชน
5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อโครงการร่วม ระหว่างโรงเรียนและชุมชน ร้อยละ 80 ขึ้นไป
6. ประชาชนมีความพึงพอใจต่อโครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน ร้อยละ 60 ขึ้นไป

องค์ประกอบที่ 4 โครงการร่วมระหว่างโรงเรียนและชุมชน
ตัวชี้วัด  เกณฑ์
1. มาตรฐานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อมในโรงเรียน ผ่านมาตรฐาน (47 ข้อ)
2. การเกิดอุบัติเหตุจากสิ่งแวดล้อม ในโรงเรียน จนไม่สามารถเรียนได้ (ตั้งแต่ปีการศึกษาที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน ) ไม่มี
3. โรงเรียนมีมาตรการและการดำเนินงาน ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และบุหรี่ในโรงเรียน มี
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อบรรยากาศภายในโรงเรียน ร้อยละ 70 ขึ้นไป

องค์ประกอบที่ 5 บริการอนามัยโรงเรียน (สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา)
ตัวชี้วัด  เกณฑ์
การตรวจสุขภาพนักเรียน
1. นักเรียนชั้น ป.1, ป.3, ป.5 ได้รับการตรวจสุขภาพโดยบุคลากรสาธารณสุขอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
ทุกคน
2. นักเรียนชั้น ป.2, ป.4, ป.6 ที่มีปัญหาสุขภาพได้รับการติดตามเพื่อช่วยเหลือ/แก้ไข/ส่งต่อ ทุกคน
การเฝ้าระวังสุขภาพ
3. นักเรียนชั้น ป.5, ป.6 ประเมิน สุขภาพตนเองและบันทึกลงในแบบบันทึกฯ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง
ทุกคน
4. นักเรียนชั้น ป.1, ป.3, ป.5 ได้รับการทดสอบสายตาปีละ 1 ครั้ง ทุกคน
5. นักเรียนชั้น ป.1, ป.3, ป.5 ได้รับการทดสอบการได้ยินอย่างง่าย ปีละ 1 ครั้ง ร้อยละ 60 ขึ้นไป
6. นักเรียนชั้น ป.1, ป.3, ป.5 ได้รับการตรวจโดยวิธีคลำคอ (เพื่อตรวจหา ความผิดปกติจากภาวะขาดสารไอโอดีนและความผิดปกติอื่นๆ บริเวณคอ) โดยบุคลากรสาธารณสุข ปีละ 1 ครั้ง ทุกคน
7. นักเรียนชั้น ป.1- ป.6 ได้รับการตรวจสุขภาพช่องปากโดยทันตบุคลากรหรือครู ภาคเรียนละ 1 ครั้ง ทุกคน
8. นักเรียนได้รับบริการทันตกรรมป้องกัน ทุกคน
9. นักเรียน ได้รับการทดสอบประสิทธิภาพ การแปรงฟัน โดยครูหรือบุคลากรสาธารณสุข ภาคเรียนละ 1 ครั้ง ร้อยละ 50 ขึ้นไป
10. นักเรียนชั้น ป.1 ได้รับวัคซีนป้องกันหัด หัดเยอรมัน คางทูม (MMR) ร้อยละ 95 ขึ้นไป
11. นักเรียนชั้น ป. 1 ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันวัณโรค (BCG) มาก่อนหรือไม่มีประวัติแน่ชัดและไม่มีรอยแผลเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนBCG 1 ครั้ง ทุกคน
12. นักเรียนชั้น ป.1 ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก ไอกรน (DTP) หรือ DTP-HBและวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ(OPV) หรือเคยได้รับน้อยกว่า 5 ครั้ง ต้องได้รับวัคซีน dT และOPV ตามเงื่อนไข (รายละเอียดในภาคผนวก) ทุกคน
13. นักเรียนชั้น ป.6 ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ บาดทะยัก (dT) กระตุ้น (ศึกษารายละเอียดการรับวัคซีนในภาคผนวก) ร้อยละ 95 ขึ้นไป
การจัดบริการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
14. นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพ (เช่น เหา พยาธิ ฯลฯ) ได้รับการรักษา
ทุกคน
15. นักเรียนที่เจ็บป่วยเกินขอบเขตการบริการของห้องพยาบาล เช่น ภาวะโลหิตจาง คอพอก ฟันผุ โรคในช่องปาก ฯลฯ ได้รับการส่งต่อเพื่อรักษา ทุกคน
16. นักเรียนที่มีปัญหาสุขภาพ เช่น ภาวะอ้วน ผอม เตี้ย ฯลฯ เข้าร่วมกิจกรรมแก้ไขปัญหาที่โรงเรียนจัดขึ้น ทุกคน

องค์ประกอบที่ 5 บริการอนามัยโรงเรียน (สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา)
ตัวชี้วัด  เกณฑ์
การตรวจสุขภาพนักเรียน
1. นักเรียนชั้น ม.1,ม.4 ได้รับการตรวจสุขภาพโดยบุคลากรสาธารณสุขปีละ 1 ครั้ง
ทุกคน
การเฝ้าระวังสุขภาพ
2. นักเรียนชั้น ม.1 ขึ้นไป ประเมินสุขภาพตนเอง และบันทึกลงใน แบบบันทึกฯ ภาคเรียนละ 1 ครั้ง
ทุกคน
3. นักเรียนชั้น ม.1, ม.4 ได้รับการทดสอบสายตาปีละ 1 ครั้ง ทุกคน
การจัดบริการรักษาพยาบาลเบื้องต้น
4. นักเรียนที่มีปัญหาด้านสุขภาพ (เช่น มีไข้ เป็นหวัด ปวดท้อง ฯลฯ) ได้รับการรักษา
ทุกคน
5. นักเรียนที่เจ็บป่วยเกินขอบเขตการบริการ ของห้องพยาบาล (เช่น หอบหืด โลหิตจาง ฯลฯ) ได้รับการแนะนำช่วยเหลือ/ส่งต่อเพื่อการรักษา ทุกคน

องค์ประกอบที่ 6 สุขศึกษาในโรงเรียน (สำหรับโรงเรียนมัธยมศึกษา)
ตัวชี้วัด  เกณฑ์
1.นักเรียนเคยได้รับการฝึกทักษะ ในเรื่องต่อไปนี้
1.1 การรักษาความสะอาดของร่างกาย
1.2 การล้างมือ
1.3 การเลือกอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
1.4 การไม่รับประทานอาหารที่มีสารอันตราย
1.5 การหลีกเลี่ยงเครื่องดื่ม แอลกอฮอล์ สารเสพติด รวมทั้งบุหรี่
1.6 การป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติภัย
1.7 การหลีกเลี่ยงการพนันการเที่ยวกลางคืน
1.8 กิจกรรมการเรียนรู้ในเรื่องเพศศึกษาและทักษะชีวิตในนักเรียน
ร้อยละ 80 ขึ้นไป
2. มีกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ ด้านสุขภาพในโรงเรียน (เช่นเสียงตามสาย การรณรงค์ ป้ายนิเทศ นิทรรศการ แจกเอกสาร ฯลฯ) 3 กิจกรรม ขึ้นไป
3. นักเรียนชั้น ป.1 – ป.6 แปรงฟันหลังอาหารกลางวันทุกวันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ทุกคน
4. นักเรียนทุกชั้นไม่มีเหา ทุกคน
5. นักเรียนที่เจ็บป่วยเกินขอบเขตการบริการ ของห้องพยาบาล (เช่น หอบหืด โลหิตจาง ฯลฯ) ได้รับการแนะนำช่วยเหลือ/ส่งต่อเพื่อการรักษา ทุกคน

องค์ประกอบที่ 7 โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย (สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา)
ตัวชี้วัด  เกณฑ์
1. นักเรียนชั้นอนุบาล – ป.6 มีส่วนสูงระดับดีและรูปร่างสมส่วน ร้อยละ 70 ขึ้นไป
2. นักเรียนที่มีปัญหา ภาวะเริ่มอ้วน อ้วน ผอม และเตี้ย ได้รับการแก้ไข ทุกคน
3. นักเรียนได้รับประทานอาหารครบ 5 กลุ่มอาหารตามสัดส่วนธงโภชนาการ ทุกวัน ทุกคน
4. นักเรียนชั้น ป.1 ขึ้นไปได้รับยาเม็ดเสริมธาตุเหล็ก 1 เม็ด (60 มิลลิกรัม) /ยาน้ำ 1 ช้อนชา (12.5 มิลิกรัม) ต่อสัปดาห์ ทุกคน
5. นักเรียนมีความรู้เรื่องธงโภชนาการและสามารถเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่าถูกหลักโภชนาการ ทุกคน
6. นักเรียน ป.1-ป.6 ได้ดื่มนมรสจืดทุกวัน ทุกคน
7. การเก็บรักษานมไว้ที่อุณหภูมิที่เหมาะสมตามชนิดของนม เช่น นมพาสเจอร์ไรซ์ (นมถุง) เก็บที่อุณหภูมิ ไม่เกิน 8 องศาเซลเซียส ทุกวัน
8. การจัดวางเครื่องปรุงทุกชนิด ที่จุดบริการ และร้านค้าที่จัดจำหน่ายอาหารในโรงอาหารหรือภายในบริเวณโรงเรียน ทุกจุดบริการ
9. การจัด จำหน่าย หรือบริการอาหาร/อาหารว่าง/ขนม ที่มีผลเสียต่อสุขภาพ ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ และมีรสหวานจัด เค็มจัด และมันจัด (เช่นขนมถุง ท็อฟฟี่ ขนมกรุบกรอบ อาหารทอดน้ำมันซ้ำ น้ำอัดลม เป็นต้น) ไม่มี
10. มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารของโรงอาหาร ในโรงเรียน ผ่านมาตรฐาน(30ข้อ)

องค์ประกอบที่ 7 โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย (สำหรับโรงเรียนประถมศึกษา)
ตัวชี้วัด  เกณฑ์
1. นักเรียนมีส่วนสูงระดับดี และรูปร่างสมส่วน ร้อยละ 70 ขึ้นไป
2. นักเรียนที่มีปัญหาภาวะเริ่มอ้วน อ้วน ผอมและเตี้ย ได้รับการแก้ไข ทุกคน
3. นักเรียนได้รับประทานอาหารครบ 5 กลุ่มอาหารตามสัดส่วนของธงโภชนาการ ทุกวัน ทุกคน
4. นักเรียนมีความรู้เรื่องธงโภชนาการและสามารถการเลือกรับประทานอาหารที่มีคุณค่า ถูกหลักโภชนาการและความปลอดภัย ทุกคน
5. การจัดวางเครื่องปรุงทุกชนิดที่จุดบริการ และร้านค้าที่จัดจำหน่ายอาหารในโรงอาหารหรือภายในโรงเรียน ทุกจุดบริการ
6. การจัด จำหน่าย หรือบริการอาหาร/อาหารว่าง/ขนม ที่มีผลเสียต่อสุขภาพ ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ และ มีรสหวานจัด เค็มจัด และมันจัด(เช่นขนมถุง ท็อฟฟี่ ขนมกรุบกรอบ อาหารน้ำมันทอดซ้ำ น้ำอัดลม เป็นต้น) ไม่มี
7. มาตรฐานสุขาภิบาลอาหารของ โรงอาหารในโรงเรียน ผ่านมาตรฐาน(30 ข้อ)

องค์ประกอบที่ 8 การออกกำลังกาย กีฬาและนันทนาการ
ตัวชี้วัด  เกณฑ์
1. มีสถานที่และอุปกรณ์ออกกำลังกายกีฬาและนันทนาการที่อยู่ในสภาพ พร้อมใช้งานและปลอดภัย มีทั้งสถานที่และอุปกรณ์
2. จัดกิจกรรม/มีเวลาว่างในการออกกำลังกาย/กีฬา สำหรับนักเรียน สัปดาห์ละ 3 วันๆละ 30 นาที
3. มีชมรม/ชุมนุม/กลุ่มจัดกิจกรรมออกกำลังกาย กีฬา นันทนาการในโรงเรียน 1 ชมรม/ชุมนุม/กลุ่มขึ้นไป
4. นักเรียนได้รับการทดสอบสมรรถภาพทางกายตามเกณฑ์ทดสอบที่ได้รับการยอมรับ อย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง ทุกคน
5. นักเรียนมีสมรรถภาพทางกาย ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 60 ขึ้นไป
6. ให้คำปรึกษาแก่นักเรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ทดสอบสมรรถภาพทางกายและติดตามความก้าวหน้า ทุกคน

องค์ประกอบที่ 9 การให้คำปรึกษาและสนับสนุนทางสังคม
ตัวชี้วัด  เกณฑ์
1. ครูประจำชั้นคัดกรองและสามารถระบุนักเรียนที่มีปัญหาได้ ครูประจำชั้นทุกคน
2. นักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงหรือคัดกรองอยู่ในกลุ่มเสี่ยง และกลุ่มที่มีปัญหาได้รับการเฝ้าระวังและช่วยเหลือเบื้องต้น ทุกคน
3. โรงเรียนมีกิจกรรมช่วยเหลือนักเรียนเฉพาะรายที่มีปัญหายุ่งยากซับซ้อน โดยการประสานงานขอคำปรึกษาจากเครือข่าย บุคลากรสาธารณสุขหรือผู้เกี่ยวข้อง นักเรียนทุกคนที่ได้รับการประเมินว่ามีปัญหายุ่งยากซับซ้อน
4. นักเรียนที่มีปัญหาเกินขีดความสามารถของโรงเรียนได้รับการส่งต่อเพื่อช่วยเหลือ/รักษา/บำบัด ทุกคน
5. นักเรียนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงและมีปัญหาที่ได้รับการช่วยเหลือหรือส่งต่อ ได้รับการติดตามและดูแลต่อเนื่องจากครู ทุกคน
6. โรงเรียนมีบุคลากรหรือบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตหรือป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงสำหรับนักเรียน มี

องค์ประกอบที่ 10 การส่งเสริมสุขภาพบุคลากรในโรงเรียน
ตัวชี้วัด  เกณฑ์
1. ผู้บริหาร/ครู/บุคลากร ในโรงเรียนมีการประเมินสุขภาพอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง และนำข้อมูลไปใช้ในการจัดกลุ่มบุคลากรตามภาวะสุขภาพ (กลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง และกลุ่มพบโรค) ทุกคน
2. บุคลากรกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มพบโรคได้รับบริการปรึกษา/แนะนำ ด้านสุขภาพโดยบุคลากรสาธารณสุข ทุกคน
3. บุคลากรได้รับข้อมูลข่าวสารเรื่องสุขภาพอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1ครั้ง (จากทุกแหล่งข้อมูล เช่น โทรทัศน์ เสียงตามสาย หนังสือพิมพ์ ฯลฯ เป็นต้น) ทุกคน
4. บุคลากรในโรงเรียนร่วมกิจกรรมที่โรงเรียนจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมหรือแก้ไขปัญหาสุขภาพ เช่น กิจกรรมออกกำลังกาย, ส่งเสริมโภชนาการ, นันทนาการ ฯลฯ ร้อยละ 80 ขึ้นไป
  • 1. สร้างความสนับสนุนของชุมชนและท้องถิ่น

    สร้างความสนับสนุนของชุมชนและท้องถิ่น ผู้บริหารโรงเรียนควรชี้แจงแก่ ครู นักเรียน ผู้ปกครอง ผู้นำชุมชนและประชาชนในท้องถิ่นเกี่ยวกับความสำคัญ และความจำเป็นในการดำเนินงานสร้างสุขภาพเพื่อสร้างความเข้าใจและความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชน

  • 2. จัดตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน

    คณะกรรมการสถานศึกษาของโรงเรียนสรรหากลุ่มบุคคลที่สนใจงานส่งเสริมสุขภาพ และ การพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนและชุมชน แต่งตั้งเป็นคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนประกอบด้วยครู นักเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรสาธารณสุขและผู้แทนองค์กรในชุมชน โดยคณะกรรมการชุดนี้ ทำหน้าที่ในการร่วมกันค้นหาแนวทางปฏิบัติเพื่อพัฒนาสู่การเป็นโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

  • 3. จัดตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษา

    คณะกรรมการสถานศึกษาสรรหาและแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษาจากผู้นำชุมชน และ ผู้ที่สนใจ โดยคณะกรรมการชุดนี้จะทำงานร่วมกับโรงเรียนในการเผยแพร่ข่าวสารด้านการส่งเสริมสุขภาพ ตลอดจนระดมทรัพยากรในท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนและสร้างความแข็งแกร่งในการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

  • 4. วิเคราะห์สถานการณ์

    คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนสำรวจสถานการณ์ด้านสุขภาพของโรงเรียนและชุมชน เพื่อรวบรวมข้อมูลพื้นฐานในการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพ เช่น สถานการณ์ปัญหาสุขภาพ สภาพสิ่งแวดล้อมทางสังคม ระเบียบ กฎเกณฑ์ รวมทั้งทรัพยากรในชุมชนที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ

  • 5. กำหนดจุดเริ่มต้นในการทำงาน

    คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน นำผลการวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพของโรงเรียน และชุมชน มาร่วมกันระดมความคิดในการกำหนดประเด็นเพื่อดำเนินการส่งเสริมสุขภาพตาม สภาพปัญหา/ความต้องการของนักเรียน บุคลากรในโรงเรียน ผู้ปกครองและชุมชน

  • 6. จัดทำแผนปฏิบัติการ

    คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนกำหนดนโยบายและแผนปฏิบัติการให้สอดคล้องกับสภาพปัญหา พร้อมทั้งกำหนดเป้าหมายการดำเนินงาน รูปแบบกิจกรรม บทบาทที่เกี่ยวข้อง ตัวชี้วัดในการติดตามประเมินผล การประสานความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับชุมชนและระบบรายงานให้ชัดเจน

  • 7. ติดตามและประเมินผล

    คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงาน โดยการ จัดประชุมแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างผู้เกี่ยวข้อง มีการประเมินผลการดำเนินงาน การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลสำเร็จ และการปรับแผนงานเพื่อแก้ไขข้อบกพร่องในการดำเนินงานเป็นประจำอย่างต่อเนื่อง

  • 8. การพัฒนาเครือข่ายระดับท้องถิ่น

    คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียนแต่ละโรงเรียน มีการผลักดันและสนับสนุน การดำเนินงานซึ่งกันและกัน ด้วยการสร้างเครือข่ายโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โดยมีการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ และแหล่งทรัพยากร ตลอดจนมีการจูงใจให้โรงเรียนอื่นๆ ที่ยังไม่ร่วมโครงการ เกิดความตื่นตัวและร่วมดำเนินการส่งเสริมสุขภาพในโรงเรียนตามแนวทางโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

หลักการพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ

หลักการพัฒนาการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ การพัฒนาโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพตามหลักการบริหารงานโดยใช้วงจรคุณภาพ (Quality Circle) ดังนี้
1. การวางแผนดำเนินงาน (PLAN)
• แต่งตั้งคณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของ โรงเรียนเป็นลายลักษณ์อักษรประกอบด้วย ครู นักเรียน ผู้ปกครอง บุคลากรสาธารณสุข และผู้แทนองค์กรในชุมชน
• คณะกรรมการส่งเสริมสุขภาพของโรงเรียน ร่วมกันกำหนดนโยบายส่งเสริมสุขภาพ ให้ครอบคลุมประเด็นสุขภาพที่จำเป็น ต่อการสร้างสุขภาพ เพื่อเป็นทิศทาง ในการพัฒนา
• ถ่ายทอดนโยบายสู่นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้อง
• จัดทำแผนกลยุทธ์พัฒนาคุณภาพการศึกษาและแผนงานโครงการให้สอดคล้องกับนโยบายส่งเสริมสุขภาพ
• จัดทำข้อมูลและสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับสภาพปัญหาและความต้องการด้านสุขภาพของทุกฝ่ายทั้งในและนอกโรงเรียน

2. การปฏิบัติการ (DO)
• ปฏิบัติตามแผนงาน โครงการ ที่กำหนด
• โรงเรียนประเมินตนเอง (Self Assessment) โดยใช้เกณฑ์มาตรฐานการประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ เพื่อค้นหาสิ่งที่ยังไม่ได้ดำเนินการหรือดำเนินงานไม่เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
• ดำเนินงานเพื่อปรับปรุงให้บรรลุตัวชี้วัดตามเกณฑ์มาตรฐานการประเมิน
3. การตรวจสอบ/ทบทวน/ประเมิน (CHECK)
• นิเทศ กำกับ ติดตาม สร้างขวัญกำลังใจในการดำเนินงานโดยคณะกรรมการนิเทศภายในของโรงเรียน ระหว่างการปฏิบัติงาน
• ตรวจสอบ ทบทวน ประเมินโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโดยคณะกรรมการจากหน่วยงานสาธารณสุขและการศึกษา รวมทั้งผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละกลุ่มโรงเรียน หรือเขตพื้นที่การศึกษา
• ขอรับการประเมินเพื่อรับรองในแต่ละระดับจากทีมประเมินระดับอำเภอหรือทีมประเมินระดับจังหวัดต่อไป
4. การปรับปรุงแก้ไข / พัฒนา (ACT)
• สรุปผลการตรวจสอบ ทบทวนและนิเทศงานตามองค์ประกอบ/ตัวชี้วัด โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ
• นำผลการตรวจสอบ ทบทวนและนิเทศงานไปใช้ปรับปรุงแก้ไข การดำเนินงาน หรือกิจกรรมของโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพในปีการศึกษาต่อไป