หลักการและเหตุผล

          พระปฐมบรมราชโองการของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 10 ในพิธีบรมราชาภิเษก ความว่า “เราจะสืบสาน รักษา และต่อยอด และครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” เป็นที่ประจักษ์ชัดต่อชาวมหาวิทยาลัยราชภัฏด้วยทรงพระราชทานพระราโชบาย ให้น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและศาสตร์พระราชาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระราชทานแนวพระราชดำริไว้มาเป็นหลักการในการทำงานพัฒนาท้องถิ่น โดยทรงโปรดให้จัดสรรงบประมาณให้มหาวิทยาลัยราชภัฏปฏิบัติภารกิจพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่ของตนตามพระราโชบาย

          วิธีการแห่งศาสตร์พระราชาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรักาลที่ 9 ทรงใช้ในการทรงงาน คือ เช้าใจ เข้าถึง และพัฒนา โดยการพัฒนาอย่างยั่งยืนต้องมีความเข้าใจ เข้าใจภูมิประเทศ เข้าใจชุมชนในหลากหลายปัญหา ต้องระเบิดจากข้างใน คือการสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนที่เข้าไปพัฒนา ให้พึ่งพาตนเองได้ มีต้นแบบในการเผยแพร่ ได้เรียนรู้และนำไประยุกต์ใช้ให้เหมาะแก่ตน จากการรายงานผลกาศึกษาตัวชี้วัดความยั่งยืนชุมชนมั่นพัฒนาและการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาที่ยั่งยืนของ ดร.สมชัย จิตสุชน ในงานเสวนา “ศาสตร์พระราชากับการพัฒนาที่ยั่งยืน และตัวชี้วัดความยั่งยืนชุมชนมั่นพัฒนา” ที่จัดขึ้นโดยสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงการต่างประเทศ และทีดีอาร์ไอ เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2561 พบว่าจังหวัดนครสวรรค์มีคะแนนตัวชี้วัดสะท้อนการปฏิบัติตามศาสตร์พระราชาค่อนข้างน้อย

          ดังนั้นการพัฒนาศูนย์เรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาผ่านกิจกรรมทางการเกษตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ จะเป็นช่องทางหนึ่งในการพัฒนาชุมชนในท้องถิ่นซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตรให้มีการพัฒนาองค์ความรู้ มีต้นแบบ มีที่ปรึกษาในการพัฒนาให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน มีภูมิคุ้มกันในตนเพื่อต้านทานการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน ภายใต้ฐานความรู้และฐานคุณธรรม

วัตถุประสงค์ของโครงการ

          1) เพื่อพัฒนาศูนย์เรียนรู้ในการทำการเกษตร เป็นต้นแบบในการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนตามศาสตร์พระราชา
          2) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และส่งเสริมการน้อมนำศาสตร์พระราชาไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืนของสมาชิกชุมชน

กิจกรรมที่จะดำเนินการ

          1) เพื่อพัฒนาศูนย์เรียนรู้ในการทำการเกษตร เป็นต้นแบบในการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนตามศาสตร์พระราชา
                1.1 พัฒนาทักษะของทีมอาจารย์และนักศึกษาที่จะดำเนินการกิจกรรมในศูนย์เรียนรู้โดยเข้ารับการอบรมจากปราชญ์ที่ประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาในพื้นที่
                1.2 พัฒนาพื้นที่ เพื่อจัดรูปแบบศูนย์เรียนรู้ในการทำการเกษตรเพื่อเป็นต้นแบบในการเผยแพร่และประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชา โดยรวบรวมองค์ความรู้ และจัดทำ ระบบการจัดการองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาของศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์เพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่ในท้องถิ่น และสร้างเครือข่ายเกษตร กรในพื้นที่บริการ ประกอบด้วย
                    - การจัดทำระบบการจัดการองค์ความรู้การจัดทำแปลงผักยกแคร่
                    - การจัดทำระบบการจัดการองค์ความรู้การเลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ปีก
                    - การจัดทำระบบการจัดการองค์ความรู้การเลี้ยงปลาร่วมกับการปลูกพืช
                    - การจัดทำระบบการจัดการองค์ความรู้การผลิตปุ๋ยหมักแบบไม่พลิกกอง
                    - การจัดทำระบบการจัดการองค์ความรู้การผลิตสัตว์ปีกปลอดภัย

          2) เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และส่งเสริมการน้อมนำศาสตร์พระราชาไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดความอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืนของสมาชิกชุมชน
                2.1 ศึกษาบริบทความต้องการของกลุ่มเป้าหมายเพื่อพัฒนาให้ตรงกับความต้องการพัฒนาอันเป็นการระเบิดจากข้างใน
                2.2 จัดอบรมสร้างองค์ความรู้ ความเข้าใจในเรื่องของการทำการเกษตรที่ทันต่อการเปลี่ยนแปลงในโลกปัจจุบัน วิธีคิด การประยุกต์ใช้ให้เหมาะแก่ตนตามศาสตร์พระราชา โดยได้จัดทำในรูปแบบการอบรมแบบออนไลน์ ในหัวข้อ ดังนี้
                    - การขยายเชื้อราปฏิปักษ์เพื่อควบคุมโรคและแมลงศัตรูพืชโดยชีววิธี
                    - การผลิตก้อนเชื้อเห็ดแบบครบวงจร
                    - การเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้าไทย
                    - การปลูกผักปลอดภัยไว้ทานเอง
                    - เทคนิคง่ายๆเพื่อคงความสดของผักและผลไม้
                    - การปลูกพืชระบบ Hydroponics
                    - การปลูกพันธุ์ไม้น้ำเพื่อการค้า
                2.3 สนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินการตามความรู้ที่ได้รับการอบรม
                2.4 ติดตาม ประเมินผลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้
                2.5 รวบรวมองค์ความรู้ สังเคราะห์ จัดทำระบบการจัดการความรู้ เพื่อทำการเผยแพร่และสร้างเครือข่าย

ติดต่อ
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
398 หมู่ 9 ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000
โทรศัพท์ 056-219100 ต่อ 2301 โทรสาร 056-882731
ติดต่อ
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ศูนย์การศึกษาย่านมัทรี
398/1 หมู่ 3 ต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ 60130
โทรศัพท์ 0-5627-8983
จำนวนผู้เข้าชม 732 คน
©2020 กลุ่มวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน (IT4CD)
All Rights Reserved. ติดต่อ orasa.t@nrsu.ac.th