1. โครงการฝนหลวง จากฟากฟ้าลงภูผา ผ่านทุ่งนา สู่มหานที

วิธีทำฝนหลวงมีอยู่ 3 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1 ก่อกวน คือ การดัดแปรสภาพอากาศ หรือก้อนเมฆในขณะนั้น เพื่อกระตุ้นให้มวลอากาศชื้นไหลพาขึ้นสู่เบื้องบนอันเป็นการชักน้ำไอน้ำหรืออากาศชื้นเข้าสู่กระบวน “การเกิดเมฆ”
ขั้นตอนที่ 2 เลี้ยงให้อ้วน คือ การดัดแปรสภาพอากาศ เพื่อทำให้เมฆเจริญขึ้นจนมีขนาดใหญ่หนาแน่น และพร้อมที่จะตกลงมาเป็นฝน
ขั้นตอนที่ 3 โจมตี คือ การดัดแปรสภาพอากาศที่จะกระตุ้นให้เม็ดละอองเมฆปะทะชนกันแล้วรวมตัวเข้าด้วยกัน จนมีขนาดใหญ่ขึ้น ขณะเดียวกันก็เป็นการลดแรงไหลพาขึ้นเบื้องบน เพื่อให้เม็ดน้ำมีขนาดใหญ่ตกลงสู่เบื้องล่างแล้วเกิดเป็นฝนตกลงมาสู่เป้าหมาย


โครงการฝนหลวง

2. ฝายชะลอความชุ่มชื้น (Check Dam) หรือฝายแม้ว

ฝายแม้วเป็นการใช้วัสดุธรรมชาติที่หาง่ายในท้องถิ่นเช่น ก้อนหินและไม้ เพื่อก่อเป็นฝายขวางร่องน้ำหรือห้วยเล็กๆ ทำหน้าที่กักกระแสน้ำไว้ให้ไหลช้าลงและให้น้ำสามารถซึมลงใต้ผิวดินสร้างความชุ่มชื้นในบริเวณนั้น อีกทั้งยังช่วย ดักตะกอนดินและทราย ไม่ให้ไหลลงสู่แหล่งน้ำเบื้องล่าง


ฝายชะลอความชุ่มชื้น (Check Dam) หรือฝายแม้ว

3. หญ้าแฝก

การปลูกหญ้าแฝกตามแนวระดับ เพื่อช่วยชะลอความชุ่มชื้นไว้ในดิน โดยรากของหญ้าแฝก จะขยายออกด้านข้างเป็นวงเส้นผ่าศูนย์กลางไม่เกิน 50 เซนติเมตร และจะแทงลงไปเป็นแนวลึกใต้ดิน 1-3 เมตร แล้วสานกันเป็นแนวกำแพงดูดซับความชุ่มชื้นให้แก่ผิวดิน


หญ้าแฝก

4. ทฤษฎีใหม่

เป็นการสร้างแหล่งน้ำขนาดเล็กบนผิวดินในพื้นที่การเกษตรของเกษตรกร โดยแบ่งที่ดินสำหรับใช้ขุดเป็น สระเก็บน้ำให้สามารถใช้ทำการเกษตรได้ตลอดปีและสามารถเลี้ยงปลาไปพร้อมๆ กัน นอกจากนี้บริเวณขอบสระ ยังสามารถใช้ปลูกพืชผักสวนครัว ได้อีกด้วย


ทฤษฏีใหม่

5. โครงการแก้มลิง

หลักการของโครงการ คือ เมื่อเกิดน้ำท่วมก็ขุดคลองชักน้ำให้ไหลมารวมกันเก็บไว้ ในแหล่งพักน้ำแล้วจึงค่อยทำาการระบายลงสู่ทะเลผ่านทางประตูระบายน้ำในช่วงที่ปริมาณน้ำทะเลลดลง ขณะเดียวกันก็สามารถสูบน้ำออกจากคลองที่เป็นแก้มลิงลงสู่ทะเลตลอดเวลา เพื่อที่น้ำจากตอนบนจะได้ไหลลงมาได้เรื่อยๆ และเมื่อใดก็ตามที่ระดับน้ำ ทะเลสูงกว่าระดับน้ำในคลองที่เป็นแก้มลิงก็ให้ปิดประตูระบายน้ำกั้นไม่ให้น้ำทะเลไหลย้อนกลับเข้ามา


โครงการแก้มลิง

6. การใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย

การใช้น้ำดีไล่น้ำเสียเป็นการนำน้ำคุณภาพดีจากแม่น้ำเจ้าพระยาส่งเข้าไปไล่น้ำเสียตามคลองในเขต กรุงเทพฯ และปริมณฑล ได้แก่ คลองบางเขน คลองบางซื่อคลองแสนแสบ คลองเทเวศร์ และคลองบางลำพู เพื่อช่วยลด ปัญหาความเน่าเสียของน้ำในคลองต่างๆ คล้ายกับการ“ชักโครก” คือ ปิดและเปิดน้ำห้ได้จังหวะตามเวลาน้ำขึ้น-น้ำลง หากน้ำขึ้นสูงก็เปิดประตูน้ำให้น้ำดีเข้าไปไล่น้ำเสียครั้นน้ำทะเลลงก็เปิดประตูถ่ายน้ำเสียออกจากคลองไปด้วย


การใช้น้ำดีไล่น้ำเสีย

7. กังหันน้ำชัยพัฒนา

กังหันน้ำชัยพัฒนา หรือ เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอยเป็นกังหันน้ำเพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ ทำงานโดย การหมุนปั่น เพื่อเติมอากาศให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี สามารถประยุกต์ใช้บำบัดน้ำเสียจากการอุปโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มออกซิเจน ให้กับบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร ใช้บำบัด น้ำเสียที่เกิดจากชุมชนและอุตสาหกรรมลักษณะเป็นเครื่องกลหมุนช้าแบบทุ่นลอยเพื่อช่วยเติมออกซิเจนที่ผิวน้ำ


กังหันน้ำชัยพัฒนา

8. การบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์

กังหันน้ำชัยพัฒนา หรือ เครื่องกลเติมอากาศที่ผิวน้ำหมุนช้าแบบทุ่นลอยเป็นกังหันน้ำเพื่อบำบัดน้ำเสียด้วยวิธีการเติมอากาศ ทำงานโดย การหมุนปั่น เพื่อเติมอากาศให้น้ำเสียกลายเป็นน้ำดี สามารถประยุกต์ใช้บำบัดน้ำเสียจากการอุปโภคของประชาชน น้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม รวมทั้งเพิ่มออกซิเจน ให้กับบ่อเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทางการเกษตร ใช้บำบัด น้ำเสียที่เกิดจากชุมชนและอุตสาหกรรมลักษณะเป็นเครื่องกลหมุนช้าแบบทุ่นลอยเพื่อช่วยเติมออกซิเจนที่ผิวน้ำ

การบำบัดน้ำเสียด้วยจุลินทรีย์สามารถทำได้ 2 วิธี คือ
วิธีที่ 1 การใช้น้ำหมักชีวภาพ โดย การใช้น้ำหมักชีวภาพปริมาณ 1 ต่อ 500 ส่วนราดลงในน้ำทิ้งจากครัวเรือนตลาดสด ฟาร์มปศุสัตว์ หรือโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อให้จุลินทรีย์ ช่วยย่อยสลาย อินทรีย์สารในแหล่งน้ำนอกจากนี้ น้ำหมักชีวภาพยังสามารถนำไปใช้ได้ดีในการปรับสภาพน้ำใน บ่อประมงทั้งบ่อเลี้ยงกุ้งและปลาได้เป็นอย่างดี
วิธีที่ 2 ลูกระเบิดจุลินทรีย์ เป็นการบำบัดและฟื้นฟูแหล่งน้ำ ให้ดีขึ้นด้วย จุลินทรีย์เช่นเดียวกับการใช้น้ำหมักประกอบด้วย โคลนจากท้องนา 50 กิโลกรัม, ร้า 10 กิโลกรัม, ปุ๋ยอินทรีย์เม็ดหรือผง 50 กิโลกรัมและน้ำหมักชีวภาพที่หมัก จนได้ที่แล้ว 3 เดือนขึ้นไป โดยนำทุกอย่างมาผสมเข้าด้วยกัน จนสามารถปั้นเป็นก้อนขนาดเท่าลูกเปตอง นำไปผึ่งไว้ในที่ร่ม จนแห้งสามารถนำไปบำบัดน้ำได้โดยใช้ในอัตราส่วน 5 กิโลกรัมต่อน้ำ 1 ล้านลิตร หรือ 25 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพน้ำที่เน่าเสีย ในบริบทของท้องถิ่นนั้นปัจจุบันได้มีการน้อมนำแนวพระราชดำริ มาปฏิบัติเพื่อให้เป็นไปตาม “แผนพัฒนาเศรษฐกิจพอเพียงท้องถิ่น ในด้านการเกษตรและแหล่งน้ำ” (Local Sufficiency Economy Plan : LSEP) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ซึ่งเป็นทางเดินที่มาถูกทางแล้ว


การบำบัดน้ำเสียโดยใช้จุลินทรีย์

โดย พลเอก เดชา ปุญญบาล

จำนวนผู้เข้าชม 912 คน
©2020 กลุ่มวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน (IT4CD)
All Rights Reserved. ติดต่อ orasa.t@nrsu.ac.th