...
การปรับภูมิทัศน์ ปลูกพันธุ์ไม้ และติดป้าย ในการทำศูนย์เรียนรู้ การผลิตอาหารข้น แร่ธาตุก้อนเพื่อลดต้นทุน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการเลี้ยงแพะ-แกะ การแปรรูปสัตว์น้ำจืด การแปรรูปอาหารปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า (น้ำตรีผลา) การแปรรูปอาหารปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า (เค้กไข่ใต้หวัน) การสร้างเส้นใยจากของเหลือการเกษตร การสร้างสื่อวิดีโอคลิปด้วยมือถือเพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่ในการเผยแพร่ศาสตร์พระราชาฯ การผลิตเห็ดฟางและเห็ดโคนน้อยด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร การเพิ่มศักยภาพการเพาะเลี้ยงปลากัด การผลิตผักปลอดภัยโดยวิธีผสมผสาน การทำการตลาดออนไลน์และ ออฟไลน์

โครงการพัฒนาศูนย์เรียนรู้เพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่ในท้องถิ่นตามศาสตร์พระราชาอย่างยั่งยืน (ปีที่ 2 – 2564)

1. หลักการและเหตุผล
การพัฒนาศูนย์เรียนรู้ตามศาสตร์พระราชาผ่านกิจกรรมทางการเกษตรของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ เป็นช่องทางหนึ่งในการพัฒนาชุมชนในท้องถิ่นซึ่งส่วนใหญ่มีอาชีพทางการเกษตรให้มีการพัฒนาองค์ความรู้ มีต้นแบบ มีที่ปรึกษาในการพัฒนาให้สามารถพึ่งตนเองได้อย่างยั่งยืน มีภูมิคุ้มกันในตนเพื่อต้านทานการเปลี่ยนแปลงของโลกปัจจุบัน ภายใต้ฐานความรู้และฐานคุณธรรม ซึ่งได้เริ่มดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมในปีงบประมาณ 2563 คณาจารย์ผู้เป็นคณะดำเนินการได้มีโอกาสถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ชุมชนเป้าหมาย และดำเนินการพัฒนาแหล่งเรียนรู้โดยมีเป้าหมายให้เป็นที่สาธิตการทำการเกษตรที่ยึดหลักการตามศาสตร์พระราชา เป็นที่ฝึกของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ซึ่งส่วนใหญ่เป็นลูกหลานของเกษตรกรในท้องถิ่น เป็นที่ปรึกษาของชุมชนต่าง ๆ ที่ต้องการพัฒนาให้มีความเป็นอยู่ดีขึ้น หรือมีรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้มีเป้าหมายการดำเนินการอย่างน้อย 4 ปี ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เกิดจากการลงมือปฏิบัติ และประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผ่านการอบรมความรู้ทางการการเกษตรและศาสตร์ที่เกี่ยวข้องที่เหมาะสมกับชุมชนและท้องถิ่น

2.วัตถุประสงค์
2.1 เพื่อพัฒนาศูนย์เรียนรู้ในการทำการเกษตรด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะและเป็นต้นแบบในการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนตามศาสตร์พระราชา
2.2 เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ และส่งเสริมการน้อมนำศาสตร์พระราชาไปประยุกต์ใช้เพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่ในท้องถิ่น

3. เป้าหมาย
3.1 เพื่อพัฒนาศูนย์เรียนรู้การทำการเกษตร เป็นต้นแบบในการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนตามศาสตร์พระราชา เป็นแหล่งเรียนรู้และฝึกปฏิบัติของนักศึกษาและผู้สนใจ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ย่านมัทรี จำนวน 1 ศูนย์ โดยในปีแรกจะพัฒนา 4 ฐานการเรียนรู้ คือ ฐานระบบการปลูกผักยกแคร่ ฐานระบบการปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงปลา (Aquaponics) ฐานระบบการเลี้ยงปลาร่วมกับสัตว์ปีก และฐานระบบการผลิตสัตว์ปลอดภัย
3.2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการแก่ชุมชนในพื้นที่เพื่อให้มีความเป็นอยู่และรายได้ตีขึ้น อย่างน้อยปีละ 4 ชุมชน อบรมเผยแพร่องค์ความรู้ตามศาสตร์พระราชา แก่เกษตรกรหรือผู้สนใจอย่างน้อยปีละ 300 คน พัฒนาเกษตรกรรุ่นใหม่เพื่อเป็นต้นแบบการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาอย่างน้อยปีละ 2 ราย และ พัฒนาระบบการจัดการองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาของศูนย์เรียนรู้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์เพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่ในท้องถิ่น

4. ผลผลิต ผลลัพธ์ และดัชนีชี้วัดความสำเร็จ
4.1 ผลผลิต (Output)
1) ศูนย์เรียนรู้และฝึกปฏิบัติการทำการเกษตรตามศาสตร์พระราชา โดยในปีแรกพัฒนา 4 ฐานการเรียนรู้ คือ ระบบการปลูกผักยกแคร่ ระบบการปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงปลา (Aquaponics) ระบบการเลี้ยงปลาร่วมกับสัตว์ปีก และระบบการผลิตสัตว์ปลอดภัย
2) เว็บแอปพลิเคชันเพื่อการจัดการความรู้ของศูนย์เทคโนโลยีตามศาสตร์พระราชาทางการเกษตรอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืน

4.2 ผลลัพธ์ (Outcome)
1) นักศึกษา ศิษย์เก่า เกษตรกร และผู้สนใจมีแหล่งฝึกปฏิบัติการทำการเกษตรตามศาสตร์พระราชา
2) เว็บแอปพลิเคชันเพื่อการจัดการความรู้ของศูนย์เทคโนโลยีตามศาสตร์พระราชาทางการเกษตรอัจฉริยะเพื่อความยั่งยืนได้รับการเผยแพร่ไปยังกลุ่มเป้าหมาย

4.3 ดัชนีชี้วัดความสำเร็จ (KPIs)
1) เชิงปริมาณ

- มีศูนย์เรียนรู้การทำการเกษตร เป็นต้นแบบในการพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนตามศาสตร์พระราชา จำนวน 1 ศูนย์พระราชา โดยในปีแรกมี 4 ฐานการเรียนรู้ คือ ฐานระบบการปลูกผักยกแคร่ ฐานระบบการปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงปลา (Aquaponics) ฐานระบบการเลี้ยงปลาร่วมกับสัตว์ปีก และฐานระบบการผลิตสัตว์ปลอดภัย
- ชุมชนในพื้นที่ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ศาสตร์พระราชาเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต อย่างน้อยปีละ 1 ชุมชน เกษตรกรหรือผู้สนใจอย่างน้อยปีละ 60 คน พัฒนาศิษย์เก่าให้เป็นเกษตรกรรุ่นใหม่อย่างน้อยปีละ 2 ราย

2) เชิงคุณภาพ
1) มีแหล่งเรียนรู้และฝึกปฏิบัติของนักศึกษาและผู้สนใจ ณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์ ย่านมัทรี
2) ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้และเข้าใจ การทำการเกษตรอย่างยั่งยืน และการประยุกต์ใช้ศาสตร์พระราชาในการพัฒนาคุณภาพชีวิต

2.6 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
ความอยู่ดีมีสุขอย่างยั่งยืนของผู้เข้ารับการอบรมทั้งด้านกายภาพ ด้านจิตใจ และด้านวัฒนธรรม จากการน้อมนำแนวทางดำเนินชีวิตตามศาสตร์พระราชาไปปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม

2.7 กลุ่มเป้าหมายผู้ได้รับผลประโยชน์
2.7.1 นักศึกษา และศิษย์เก่าของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
2.7.2 กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตข้าวปลอดสารพิษบ้านบางเดื่อ จ.นครสวรรค์
2.7.3 เกษตรกรรุ่นใหม่ และผู้สนใจ เรียนรู้การทำการเกษตรตามศาสตร์พระราชา

2.8 ระยะเวลาดำเนินโครงการ
1 ตุลาคม 2563 – 30 กันยายน 2564

เส้นทางเว็บไซต์
* การปรับภูมิทัศน์ ปลูกพันธุ์ไม้ และติดป้าย ในการทำศูนย์เรียนรู้
* การผลิตอาหารข้น แร่ธาตุก้อนเพื่อลดต้นทุน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการเลี้ยงแพะ-แกะ
* การแปรรูปสัตว์น้ำจืด
* การแปรรูปอาหารปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า (น้ำตรีผลา)
* การแปรรูปอาหารปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า (เค้กไข่ใต้หวัน)
* การสร้างเส้นใยจากของเหลือการเกษตร
* การสร้างสื่อวิดีโอคลิปด้วยมือถือเพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่ในการเผยแพร่ศาสตร์พระราชาฯ
* การผลิตเห็ดฟางและเห็ดโคนน้อยด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
* การเพิ่มศักยภาพการเพาะเลี้ยงปลากัด
* การผลิตผักปลอดภัยโดยวิธีผสมผสาน
* การทำการตลาดออนไลน์และ ออฟไลน์
จำนวนผู้เข้าชม 247 คน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
398 หมู่ 9 ถ.สวรรค์วิถี ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000

©2021 กลุ่มวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน (IT4CD)
All Rights Reserved. ติดต่อ orasa.t@nrsu.ac.th