การใช้งานโปรแกรมตัดต่อ KINEMASTER
มีขั้นตอนการใช้งาน ดังนี้
1. เมื่อเข้าสู่โปรแกรมจะปรากฎเมนูเป็นลักษณะวงกลม
2. เลือกสัญลักษณ์ตรงกลางเพื่อเข้าสู่การตัดต่อวิดีโอ

3. เลือกขนาดภาพของวิดีโอ ในที่นี้แนะนำให้เลือกแบบ 16 : 9 แบบแนวนอน เนื่องจากจะนำไปใช้อัปโหลดบนยูทูปหรือเพื่อแสดงผลบนจอโทรทัศน์ (การถ่ายวิดีโอควรปรับขนาดภาพให้เป็น 16 : 9 ด้วย)

4. เข้าสู่หน้าต่างของการตัดต่อวิดีโอของแอปพลิเคชัน KINEMASTER

ส่วนประกอบของหน้าต่างการตัดต่อวิดีโอ

หมายเลข 1 ส่วนของการแทรกไฟล์มีเดีย ออดิโอ เสียง และเลเยอร์ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1.1 มีเดีย สำหรับการแทรกรูปภาพหรือวิดีโอ
1.2 ออดิโอ สำหรับการแทรกเสียงเพลง เสียงบรรเลงหรือเสียงเอฟเฟกต์ต่าง ๆ
1.3 เสียง สำหรับการบันทึกเสียง
1.4 เลเยอร์ สำหรับการแทรกเอฟเฟกต์ต่าง ๆ ประกอบด้วย
- มีเดีย สำหรับแทรกวิดีโอ รูปภาพ ที่ต้องการแทรกซ้อนทับกัน
- เอฟเฟกต์ สำหรักการใส่ฉาก เปลี่ยนฉากต่าง ๆ
- โอเวอร์เลย์ สำหรับการแทรกสติ๊กเกอร์
- ตัวอักษร สำหรับการแทรกข้อความ
- วาดเขียน สำหรับการแทรกการเขียนด้วยลายมือหรือวาดลายมือบนวิดีโอ

หมายเลข 2 ส่วนของไทม์ไลน์ แสดงคลิปวิดีโอ ภาพ เอฟเฟกซ์ต่างๆ สำหรับทำการตัดต่อ
หมายเลข 3 ส่วนของการแสดงผลการตัดต่อวิดีโอ
หมายเลข 4 ส่วนของเมนูอื่นๆ เช่น การแชร์ การย้อนกลับขั้นตอน การจับภาพนิ่ง

5. วิธีการนำไฟล์ภาพหรือวิดีโอเข้ามาตัดต่อ
เริ่มต้นจากการเลือกเมนู มีเดีย

จากนั้นจะปรากฏไฟล์ภาพหรือวิดีโอแยกเป็นโฟลเดอร์ ให้เลือกไฟล์ที่ต้องการนำไปตัดต่อ > ไฟล์ที่เลือกจะไปอยู่ในไทม์ไลน์ > กดเลือกเครื่องหมาย  (มุมบนขวา) เพื่อกลับสู่หน้าต่างหลัก

และเมื่อเลือกไฟล์วิดีโอที่ต้องการแล้ว เมื่อกดปุ่ม Play ไฟล์วิดีโอที่เลือกไว้จะเรียงต่อกัน โดยให้สังเกตุว่าเมื่อวิดีโอ Play ถึงช่วงใด จะมีสเกลหรือเส้นสีแดงเคลื่อนที่ไปที่ช่วงนั้นของภาพ ดังนั้น หากเราเลื่อนสเกลที่มีลักษณะเป็นเส้นสีแดงนี้ไปไว้ที่ใด วิดีโอก็จะเริ่ม Play ตรงนั้น

6. การตัดต่อภาพ
เราสามารถตัด shot ภาพให้สั้นลงได้ตามช่วงเวลาของภาพที่เราต้องการ โดยให้เลือกไฟล์ที่ต้องการตัดต่อให้เป็นสีเหลือง จากนั้นเลือกเครื่องมือรูปกรรไกรเพื่อตัดภาพด้านซ้ายหรือขวาตามที่ต้องการ

แนะนำให้เลือกแบบ แยกที่หัวอ่าน

การใช้เครื่องมือตัด ตัด/แยก
1. ตัดไปทางซ้ายของหัวอ่าน เป็นการตัดภาพนิ่งหรือวีดีโอจากฝั่งซ้ายมืออกทั้งหมด
2. ตัดไปทางขวาของหัวอ่าน เป็นการตัดภาพนิ่งหรือวีดีโอจากฝั่งขวามืออกทั้งหมด
3. แยกที่หัวอ่าน เป็นการตัดแบ่งครึ่งวีดีโอ หรือภาพนิ่ง
4. แยกและแทรกเฟรมภาพ เป็นการตัดแบ่งวีดีโอหรือภาพนิ่งโดยเมื่อตัดแล้วจะมีไฟล์ภาพนิ่งของวีดีโอหรือภาพนิ่งมาแทรก 1 ไฟล์
การใช้เครื่องมือตัด
เป็นการ ปรับตำแหน่งของภาพวีดีโอ หรือภาพนิ่ง จากจุดเริ่มต้น ไปจนถึงจุดสิ้นสุดของงาน มีวิธีกำหนดจุดการเคลื่อนไหว ดังนี้
1. กำหนดจุดแรก Start Position แล้วกาหนดขนาดภาพเล็กใหญ่พร้อมตำแหน่งภาพ โดยการใช้มือย่อขยายภาพจากจอมอนิเตอร์
2. กำหนดจุดสุดท้าย End Position แล้วกำหนดขนาดภาพเล็กใหญ่พร้อมตำแหน่งภาพ โดยการใช้มือย่อขยายภาพจากจอมอนิเตอร์ โดยจุดแรกและจุดสุดท้ายต้องมีขนาดภาพหรือตำแหน่งภาพไม่เท่ากันถึงจะเกิดการเคลื่อนไหวของภาพได้
3. ถ้าต้องการให้ภาพที่จุดแรกและจุดสุดท้าย มีขนาดและตำแหน่งเท่ากันให้เลือกตรงเครื่องหมายเท่ากับ (=)
การใช้เครื่องมือหมุนหรือพลิกภาพ หมุน / โหมดกระจก
1. เลือกภาพนิ่ง หรือ วีดีโอ ถ้าต้องการพลิกภาพจากซ้ายไปขวา หรือจากหน้าไปหลัง ให้เลือกเมนูในส่วนของ Mirroring
2. เลือกภาพนิ่ง หรือ วีดีโอ ถ้าต้องการหมุนภาพเป็นแนวองศาใด ให้เลือกเมนูในส่วนหมุน

เส้นทางเว็บไซต์
* การปรับภูมิทัศน์ ปลูกพันธุ์ไม้ และติดป้าย ในการทำศูนย์เรียนรู้
* การอบรม “การผลิตอาหารข้น แร่ธาตุก้อนเพื่อลดต้นทุน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการเลี้ยงแพะ-แกะ”
* การแปรรูปสัตว์น้ำจืด
* เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า (น้ำตีผลา)
* เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า (เค้กไข่ใต้หวัน)
* อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเส้นใยจากของเหลือการเกษตร
* การอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสื่อวิดีโอคลิปด้วยมือถือเพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่ในการเผยแพร่ศาสตร์พระราชาฯ
* การผลิตเห็ดฟางและเห็ดโคนน้อยด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
* การเพิ่มศักยภาพการเพาะเลี้ยงปลากัด
* การผลิตผักปลอดภัยโดยวิธีผสมผสาน
* การผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง
* เทคนิคการสร้าง Content และ Fanpage

จำนวนผู้เข้าชม 145 คน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
398 หมู่ 9 ถ.สวรรค์วิถี ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000

©2021 กลุ่มวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน (IT4CD)
All Rights Reserved. ติดต่อ orasa.t@nrsu.ac.th