ความจําเป็นของการผลิตปุ๋ยอินทรีย์

ในการเพาะปลูกของเกษตรกรสิ่งที่มีความจําเป็นและสําคัญที่สุด คือความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดินจะได้มาจากการ ที่มีอินทรีย์วัตถุสะสมอยู่ในดินอยู่มาก จุลินทรีย์ดินจะใช้อินทรีย์วัตถุเป็น สารอาหารแล้วปลดปล่อยแร่ธาตุที่จําเป็นให้แก่พืชในปริมาณที่พืชต้องการ อย่างเพียงพอ ซึ่งได้แก่ ธาตุอาหารหลัก (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแทสเซียม) ธาตุอาหารรอง (ซัลเฟอร์ แคลเซียม และแมกนีเซียม) และ จุลธาตุ (แมงกานีส ทองแดง โบรอน โมลิบดินัม เหล็ก คลอรีน และสังกะสี) ดังนั้น การเติมความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินวิธีหนึ่งคือการใช้ปุ๋ยหมักหรือ ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งนอกจากจะเป็นการเพิ่มแร่ธาตุให้กับพืชแล้ว ปุ๋ยอินทรีย์ยังช่วย ลดความเป็นกรดของดินที่เกิดจากการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าหญ้าอย่างยาวนาน ได้อีกด้วย

นอกจากนี้ ในอดีตก่อนที่จะมีการผลิตปุ๋ยเคมีขึ้นในโลก เกษตรกร ในประเทศไทยก็ได้มีการสร้างความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินในการเพาะปลูก โดยการใช้มูลสัตว์ต่างๆ เช่น มูลโค มูลกระบือ และมูลไก่ เป็นต้น ประเทศไทย ในขณะนั้นสามารถส่งออกข้าวเป็นที่ 1 ของโลกมาโดยตลอด ทั้ง ๆ ที่ไม่มีปุ๋ย เคมีใช้

แต่ปัจจุบัน ภายหลังจากการ “ปฏิวัติเขียว” หรือการนําปุ๋ยเคมีเข้ามา จําหน่ายในประเทศไทยประมาณปี พ.ศ.2503 การเกษตรกรรมของไทยก็ได้ใช้ ปุ๋ยเคมี สารเคมี และยาฆ่าหญ้าอย่างหนัก โดยลืมที่จะเติมความอุดมสมบูรณ์ ให้กับดินอย่างแต่ก่อน การใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีอย่างยาวนาน 40-50 ปี ได้ทําให้ดินเพาะปลูกเสื่อมสภาพลงอย่างมาก กลายเป็นดินที่แน่น แข็ง และ เป็นกรด รากพืชไม่สามารถชอนไชหาอาหารได้ดี ความเป็นกรดของดินทําให้ เกิดการละลายของธาตุอะลูมิเนียมออกมาแล้วดูดซึมเข้าทางรากพืช ทําให้พืช ไม่แข็งแรงกลายเป็นโรคง่าย และเชื้อราที่เป็นโรคพืชบางชนิดยังทํางานได้ดี ในดินที่เป็นกรดอีกด้วย ทําให้เกษตรกรต้องใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีเพิ่มมากขึ้น ทุกปีทําให้มีต้นทุนสูงขึ้น และในขณะเดียวกันการเผาทําลายเศษพืชในแต่ละครั้ง ก็ส่งผลให้อินทรีย์วัตถุและจุลินทรีย์ดินที่มีอยู่น้อยพลอยสลายตัวหายไปอีก

เพื่อให้ความอุดมสมบูรณ์ของดินกลับคืนมาเกษตรกรจึงควรงดการ เผาเศษพืช และนําเศษพืชมาผลิตเป็นปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดีแล้วนําไปปรับปรุง บํารุงดินเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุ เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดินที่จะส่งผลให้การ ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีลดลง ซึ่งหมายถึงต้นทุนการผลิตก็จะลดลง ผลผลิต เพิ่มมากขึ้น มีผลกําไรมากขึ้น ดินเพาะปลูกจะกลับมาเป็นดินดําที่ฟู นุ่ม โครงสร้างเม็ดดินจะร่วนซุยขึ้น มีไส้เดือนกลับคืนมาที่ช่วยการชอนไช ของรากพืช พืชก็จะกลับมาแข็งแรง เกษตรกรและประชาชนจะมีสุขภาวะที่ดี จากการลดควันพิษจากการเผาและลดการใช้สารเคมี

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้

จำนวนผู้เข้าชม 82 คน
©2020 กลุ่มวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน (IT4CD)
All Rights Reserved. ติดต่อ orasa.t@nrsu.ac.th