การผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธีใหม่ “วิศวกรรมแม่โจ้ 1”

จากผลการค้นคว้าวิจัยของคณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในปี พ.ศ.2552 ได้มีนวัตกรรมใหม่ในการผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ที่ไม่ต้องพลิกกลับกอง เกษตรกรจะสามารถผลิตได้ปุ๋ยอินทรีย์คุณภาพดี ปริมาณมากครั้งละ 10-100 ตัน ปุ๋ยอินทรีย์ที่ผลิตได้มีค่าตามมาตรฐาน ปุ๋ยอินทรีย์ของกรมวิชาการเกษตร พ.ศ.2551 เสร็จภายในเวลาเพียง 60 วัน เรียกว่าวิธี “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” ที่ไม่ส่งผลกระทบใด ๆ ต่อสิ่งแวดล้อม ไม่มีกลิ่นและน้ําเสีย วัตถุดิบมีเพียงเศษพืชกับมูลสัตว์เพียง 2 อย่างเท่านั้น โดยถ้าเศษพืชเป็นฟางข้าวหรือเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หรือผักตบชวา อัตราส่วน ระหว่างฟางข้าวหรือเศษข้าวโพดหรือผักตบกับมูลสัตว์คือ 4 ต่อ 1 โดยปริมาตร และถ้าเป็นเศษใบไม้ให้ใช้อัตราส่วน 3 ต่อ 1 โดยปริมาตร

ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธี
“วิศวกรรมแม่โจ้ 1”

ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยอินทรีย์วิธี “วิศวกรรมแม่โจ้ 1” มีดังนี้ 1. นําฟางข้าวหรือเศษข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 4 ส่วน วางเป็นขั้นบางๆ สูงไม่เกิน 10 เซนติเมตร ฐานกว้าง 2.5 เมตร โดยไม่ต้องเหยียบ โปรยทับด้วย มูลสัตว์ 1 ส่วน แล้วรดน้ํา (ตัวอย่างเช่น วางฟาง 16 เข่ง หนา 10 ชม. โรยทับ ด้วยมูลสัตว์ 4 เข่ง เป็นต้น) ทําเช่นนี้ 15-17 ชั้น รดน้ําแต่ละขั้นให้มีความชื้น ขึ้นกองเป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีความสูง 1.50 เมตร กองปุ๋ยจะมีความยาวเท่าไร ก็ได้ขึ้นอยู่กับปริมาณเศษพืชและมูลสัตว์ ความสําคัญของการที่ต้องทําเป็น ชั้นบางๆ 15-17 ชั้นก็เพื่อให้จุลินทรีย์ที่มีอยู่ในมูลสัตว์ได้ใช้ทั้งธาตุคาร์บอน ที่มีอยู่ในเศษพืชและธาตุไนโตรเจนที่มีในมูลสัตว์ในการเจริญเติบโตและ สร้างเซลล์ ซึ่งจะทําให้การย่อยสลายวัตถุดิบเป็นไปได้อย่างรวดเร็ว

2. รักษาความชื้นภายในกองปุ๋ยให้มีความเหมาะสมอยู่เสมอ ตลอดเวลา (มีค่าประมาณร้อยละ 60-70) โดยมี 2 ขั้นตอนดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 รดน้ําภายนอกกองปุ๋ยวันละครั้ง โดยไม่ให้มีน้ํา ไหลนองออกมาจากกองปุ๋ยมากเกินไป
ขั้นตอนที่ 2 เมื่อครบวันที่ 10 ใช้ไม้แทงกองปุ๋ยให้เป็นรูลึกถึง ข้างล่างแล้วกรอกน้ําลงไป ระยะห่างของรูประมาณ 40 เซนติเมตร ทําขั้นตอน ที่สองนี้ 5 ครั้ง ระยะเวลาห่างกัน 10 วัน เมื่อเติมน้ําเสร็จแล้วให้ปิดรู เพื่อไม่ให้ สูญเสียความร้อนภายในกองปุ๋ย ขั้นตอนนี้แม้ว่าอยู่ในช่วงของฤดูฝนก็ยังต้องทํา เพราะน้ําฝนไม่สามารถไหลซึมเข้าไปในกองปุ๋ยได้ จากข้อดีที่น้ําฝนไม่สามารถ ชะล้างเข้าไปในกองปุ๋ยได้ เกษตรกรจึงสามารถผลิตปุ๋ยอินทรีย์ด้วยวิธีนี้ใน ฤดูฝนได้ด้วย
- ภายในเวลา 5 วันแรก กองปุ๋ยจะมีค่าอุณหภูมิสูงขึ้นมาก บางครั้งสูงถึง 70 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นเรื่องปกติสําหรับกองปุ๋ยที่ทําได้ถูกวิธี ความร้อนสูงนี้ เกิดจากกิจกรรมการย่อยสลายของจุลินทรีย์ (จุลินทรีย์มีมากมายและ หลากหลายในมูลสัตว์อยู่แล้ว) และความร้อนสูงนี้ยังเป็นสภาวะแวดล้อม ที่เหมาะสมกับการทํางานของจุลินทรีย์ในกองปุ๋ยอีกด้วย (จุลินทรีย์ กลุ่ม Thermophiles และ Mesophiles) หลังจากนั้นอุณหภูมิจะค่อย ๆ ลดลง จนมีค่าอุณหภูมิปกติที่อายุ 60 วัน

3. เมื่อกองปุ๋ยมีอายุครบ 60 วัน ก็หยุดให้ความชื้น กองปุ๋ยจะมี ความสูงเหลือเพียง 1 เมตร แล้วทําปุ๋ยอินทรีย์ให้แห้งเพื่อให้จุลินทรีย์สงบตัว (Stabilization Period) และไม่ให้เป็นอันตรายต่อรากพืช วิธีการทําปุ๋ยอินทรีย์ ให้แห้งอาจทําโดยทิ้งไว้ในกองเฉยๆ ประมาณ 1 เดือน หรืออาจแผ่กระจาย ให้มีความหนาประมาณ 20-30 ซม. ซึ่งจะแห้งภายในเวลา 3-4 วัน สําหรับ ผู้ที่ต้องการจําหน่ายปุ๋ยอินทรีย์ก็อาจนําปุ๋ยอินทรีย์ที่แห้งแล้วไปตีป่นให้มีขนาด เล็กสม่ําเสมอ ซึ่งจะมีราคาประมาณกิโลกรัมละ 5-7 บาท สามารถเก็บได้นาน หลายปี กองปุ๋ยที่สูง 1.5 เมตรจะสามารถเก็บกักความร้อนที่เกิดจากปฏิกิริยา การย่อยสลายของจุลินทรีย์เอาไว้ในกองปุ๋ย ความร้อนนี้นอกจากจะเป็น สภาพแวดล้อมที่เหมาะกับจุลินทรีย์ชนิดชอบความร้อนสูงที่มีในมูลสัตว์แล้ว เมื่อความร้อนนี้ลอยตัวสูงขึ้นจะทําให้อากาศภายนอกที่เย็นกว่าไหลเวียนเข้าไป ในภายในกองปุ๋ย ซึ่งเกิดจากการพาความร้อน (Chimney Convection) อากาศ ภายนอกที่ไหลหมุนเวียนเข้ากองปุ๋ยนี้ช่วยทําให้เกิดสภาวะการย่อยสลาย ของจุลินทรีย์แบบใช้ออกซิเจน (Aerobic Decomposition) ทําให้ไม่ต้องมีการ พลิกกลับกอง และช่วยให้กองปุ๋ยไม่มีกลิ่นหรือน้ําเสียใด ๆ

โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ธีระพงษ์ สว่างปัญญางกูร
คณะวิศวกรรมและอุตสาหกรรมการเกษตร
มหาวิทยาลัยแม่โจ้

จำนวนผู้เข้าชม 420 คน
©2020 กลุ่มวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน (IT4CD)
All Rights Reserved. ติดต่อ orasa.t@nrsu.ac.th