หลักการแปรรูปอาหารโดยการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน

หลักสำคัญในการใช้ความร้อนเพื่อฆ่าเชื้ออาหาร ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท คือ ทำให้อาหารอยู่ใน “สภาวะปลอดเชื้อแบบเชิงการค้า” หมายความว่า ทำให้อาหารปราศจากเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และไม่มีจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของการเน่าเสีย ซึ่งสามารถเจริญในอาหาร ภายใต้สภาวะอุณหภูมิปกติของการเก็บรักษา

“ภาชนะปิดสนิท” หมายถึงไม่มีอะไรสามารถผ่านเข้าออกภาชนะนั้นได้ เพื่อคงสภาพปลอดเชื้อของอาหารในภาชนะนั้นไว้หลังการฆ่าเชื้อ ภาชนะปิดสนิทได้แก่ กระป๋องโลหะ ขวดแก้ว (ที่ฝาด้านในเคลือบด้วย Plastisol) ถุงรีทอร์ต (ที่ปิดผนึกด้วยความร้อน) กล่องลามิเนท เป็นต้น


การใช้ความร้อนเพื่อฆ่าเชื้ออาหารในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาหารปลอดภัยต่อผู้บริโภค สามารถเก็บรักษาไว้ได้นาน มี 2 วิธี คือการพาสเจอไรซ์ และการสเตอริไลซ์

- การพาสเจอไรซ์ เป็นการให้ความร้อนที่อุณหภูมิต่ำกว่า 100 องศาเซลเซียส


- การสเตอริไลซ์ เป็นการใช้ความร้อนที่อุณหภูมิสูงกว่า 100 องศาเซลเซียส


ทั้งสองวิธีสามารถทำให้อาหารอยู่ใน “สภาวะปลอดเชื้อ เชิงการค้า” ได้ขึ้นกับ pH ของอาหาร

- ถ้า pH น้อยกว่าหรือเท่ากับ 4.6 ใช้การพาสเจอไรซ์ก็เพียงพอ

- แต่ ถ้า pH มากกว่า 4.6 ต้องใช้การสเตอริไลซ์จึงจะทำให้เกิด “สภาพปลอดเชื้อเชิงการค้า”

วิธีการบรรจุและฆ่าเชื้อขวดแก้ว อาหารสามารถเก็บรักษาได้นานหากมีการเตรียมบรรจุ และเก็บรักษาอย่างถูกวิธี การฆ่าเชื้อด้วยวิธีสเตอริไลซ์ขวดก่อนการบรรจุอาหารเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อไม่ให้อาหารปนเปื้อนแบคทีเรีย


เส้นทางเว็บไซต์
* การปรับภูมิทัศน์ ปลูกพันธุ์ไม้ และติดป้าย ในการทำศูนย์เรียนรู้
* การอบรม “การผลิตอาหารข้น แร่ธาตุก้อนเพื่อลดต้นทุน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการเลี้ยงแพะ-แกะ”
* การแปรรูปสัตว์น้ำจืด
* เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า (น้ำตีผลา)
* เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า (เค้กไข่ใต้หวัน)
* อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเส้นใยจากของเหลือการเกษตร
* การอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสื่อวิดีโอคลิปด้วยมือถือเพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่ในการเผยแพร่ศาสตร์พระราชาฯ
* การผลิตเห็ดฟางและเห็ดโคนน้อยด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
* การเพิ่มศักยภาพการเพาะเลี้ยงปลากัด
* การผลิตผักปลอดภัยโดยวิธีผสมผสาน
* การผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง
* เทคนิคการสร้าง Content และ Fanpage

จำนวนผู้เข้าชม 155 คน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
398 หมู่ 9 ถ.สวรรค์วิถี ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000

©2021 กลุ่มวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน (IT4CD)
All Rights Reserved. ติดต่อ orasa.t@nrsu.ac.th