รูปแบบอควาโปนิกส์แบบต่าง ๆ (Aquaponics types)

          การแบ่งระบบอควาโปนิกส์สามารถแบ่งตามแบบของการปลูกพืชซึ่งมีแบบหลัก ๆ อยู่ 3 แบบ คือ อควาโปนิกส์แบบลอยหรือแบบรากแช่ลึก อควาโปนิกส์แบบรากแช่ตื้นและอควาโปนิกส์แบบรากยึด

         3.1. อควาโปนิกส์แบบลอยหรือแบบรากแช่ลึก (Raft) อควาโปนิกส์แบบรากแช่ลึก (Raft) เป็นแบบที่มวลน้ำทั้งหมดจะไหลเวียนแบบต่อเนื่องจากถังเลี้ยงปลาผ่านตวักรองที่มีขนาดใหญ่ และตื้น พืชจะปลูกบนแพที่ลอยอยู่ในภาชนะเหล่านี้ รากของพืชจะแขวนลอยอยู่ในน้ำ ของเสียที่เป็นของแข็งในถังเลี้ยงปลาจะถูกกำจัดออกโดยใช้ถังตกตะกอน หรือเครื่องมือกำจัดของแข็งอื่น ๆ

         ข้อดีของอควาโปนิกส์แบบรากแช่ลึก
มีการทดลองมานานกว่า 25 ปี มีข้อมูลพื้นฐานจำนวนมาก มีคู่มือในการดูและและมีประสบการณ์ มากกว่าวิธีอื่น ๆ นอกเหนือจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และผู้ประกอบการได้มีการดัดแปลงวิธีการและเทคนิคอยู่ตลอดเวลา วิธีนี้จึงได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

          การดูแลรักษาระบบในแต่ละวันจะง่ายกว่าระบบอื่น และไม่จำเป็นต้องทดสอบระบบ และการบำรุงรักษาในแต่ละวันมีน้อย

          กำลังการผลิตต่อพื้นที่สูง เพราะว่าระบบนี้มีความสมดุลอย่างดีระหว่างปลา แบคทีรียที่มีประโยชน์และพืช

          ส่วนประกอบหลายอย่าง เช่น กระบะปลูกพืช (บ่อซีเมนต์หรือโครงไม้หุ้มด้วยพลาสติก) สามารถหาได้ง่ายในท้องถิ่น ทำให้ราคาถกูกว่าที่ผลิตจากโรงงาน ซึ่งต่างจากแบบรากตื้น

          สามารถใช้งานได้ทุกสภาพอากาศทั่วโลกแม้แต่ในโรงเรือน



ขอขอบคุณภาพจาก รศ. ผ้วน เพ่งเซ้ง และคณะ มหาวิทยาลัยลักษณ์

         อควาโปนิกส์แบบรากแช่ตื้น
          อควาโปนิกส์แบบรากแช่ตื้น (Nutrient Film Technique, NFT) เป็นวิธีดัดแปลงจากวิธีการปลูก พืชในสารละลายซึ่งเป็นที่นิยมใช้กันทั่วโลก ในระบบนี้จะปลกูพืชในรางปลกูพืชต่าง ๆ น้ำที่มีแร่ธาตุ ถูกส่งให้ไหล เคลือบรากพืชเป็นเยื่อบาง ๆ ทำให้รากพืชเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา ข้อดีคือส่วนล่างของรากพืชจะแช่อยู่ใน สารละลายแร่ธาตุ ในขณะที่ส่วนบนของรากจะโผล่อยู่หนือสารละลาย ทำให้รากได้รับอากาศ ช่องสารละลาย จะชื้นแต่จะไม่อุดตัน ข้อดีอีกอย่างหนึ่งคือถ้ามองว่า อะควาโปนิกส์เป็นอินทรีย์ไฮโดรโปนิกส์ และตลาดมีความต้องการผลผลิต ของพืชปริมาณมากแต่มีความต้องการผลผลติปลาปริมาณน้อย ข้อดีอื่น ๆ ของอะควาโปนิกส์แบบรากแช่ตื้น คือ รางปลกูพืชสามารถใช้เพาะเมล็ด ย้ายกล้า และเก็บ เกี่ยวผลผลิตได้ง่าย รากของพืชก็สะอาดปราศจากตะกรัน และผ้ปูลกูพืชในระบบไฮโดรโปนิกส์จำนวนมากก็มี ความคุ้นเคยกับวิธีนี้ดีอยู่แล้ว ระบบที่แสดงในภาพ 2 วางอยู่บนพื้นราบ สามารถใช้ประโยชน์จากรางปลูกที่มีอยู่บนถังปลาและถังกรองสามารถนำไปทดแทนถังผสมป๋ยุของไฮโดรโปนิกส์ได้



ขอขอบคุณภาพจาก รศ. ผ้วน เพ่งเซ้ง และคณะ มหาวิทยาลัยลักษณ์

         อควาโปนิกส์แบบรากยึด
          อควาโปนิกส์แบบรากยึด (Media filled bed, MFB) คือแบบที่ทั้งน้ำและตะกอนจากถังเลี้ยงปลาถูกสูบ สู่กระบะปลูกพืช ซึ่งกระบะปลูกพืชจะเป็นตวักรองชีวภาพตลอดเวลา ของแข็งจะถกูสลายในกระบะปลูกพืชจน กลายเป็นธาตุต่าง ๆ ที่พืชต้องการ น้ำจากถังเลี้ยงปลาจะถูกพ่นไปจนทั่วกระบะปลูกพืช โดยใช้ท่อพีวีซีเจาะรู เล็ก ๆ หรืออาจจะใช้วิธีอื่น ๆ เติมน้ำในแปลงปลูกพืชจนเต็มแล้วระบายออกเป็นระยะ ๆ น้ำท่วมจะนำมาทั้งน้ำสะอาด และแร่ธาตุ และการระบายน้ำออกจะช่วยเพิ่มออกซิเจนให้แก่แปลงพืช โดยธรรมชาติของอควาโปนิกส์แบบนี้ วัสดุปลกจะอุดตันได้ง่าย เมื่อสารอินทรีย์ย่อยสลายจะทำให้เกิดการขาดออกซิเจน ซึ่งเป็นผลทำให้ พืชโตช้าหรือทำให้รากพืชพืชเน่าเสียได้ ดังนั้นแปลงปลูกพืชต้องล้างทำความสะอาดเป็นระยะ ๆ



ขอขอบคุณภาพจาก รศ. ผ้วน เพ่งเซ้ง และคณะ มหาวิทยาลัยลักษณ์

ตารางที่ 1 เปรียบเทียบ ข้อแนะนำ ข้อดีและข้อเสียของอควาโปนิกส์แบบต่าง ๆ

แบบ
ข้อแนะนำ
ข้อดี
ข้อเสีย
รากแช่ลึก
- เป็นระบบที่สามารถใช้ผลิตเพื่อการค้าได้
- มีส่วนกำจัดของเสียที่เป็นของแข็งจากปลาแล้วนำมาใช้ประโยชน์
- เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับการผลิตเพื่อการค้า
- มีข้อมูลและมีคนจำนวนมากใช้ระบบนี้
- มีความเสี่ยงน้อยเพราะใช้ปริมาตรน้ำมากเพื่อรักษาสมดุล
- ให้ผลผลิตสูง
- มีประสิทธิภาพสูง
- ส่วนประกอบของระบบมากว่าแบบรากยึด
- ต้องทำความสะอาดระบบกรองเป็นระยะ ๆ หรือทุกวัน
รากแช่ตื้น
- ทางเลือกที่ดีที่สุดเมื่อต้องการผลผลิตพืชเป็นหลัก (ผลผลิตพืชสูงแต่ต้องการผลผลิตของปลาต่ำ)
- มีส่วนกำจัดของเสียที่เป็นของแข็งจากปลาแล้วนำมาใช้ประโยชน์
- สามารถทำกำไรได้มากที่สุดเพราะว่ามีสัดส่วนระหว่างปลาต่อพืชสูง
- ผลผลิตสูง
- ทางเลือกสำหรับคนที่คุ้นเคยกับระบบที่เคยปลูกปลูกพืชในสารละลาย
- ต้องการอุปกรณ์มากกว่าแบบรากยึด
- ต้องทำความสะอาดวัสดุกรองทุกวันหรือเป็นระยะ ๆ
- ท่อน้ำอุดตันได้ง่าย
- ปริมาณน้ำในระบบมีน้อย จึงมีความเสี่ยงมากกว่าระบบรากแช่ลึก
รากยึด
ใช้แปลงปลูกพืชส่วนกำจัดของเสียที่เป็นของแข็งจากปลา
- เหมาะสำหรับการผลิตขนาดเล็กและเพื่อบริโภคในครัวเรือน
- เหมาะสำหรับปลูกพืชรวมกันหลาย ๆ ชนิด
- สามารถใช้ปั๊มอากาศในการปั๊มน้ำและเติมอากาศได้
- ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้งมากที่สุด
- กำลังผลิตต่ำสุด
- ต้องทำความสะอาดวัสดุปลูกทั้งหมดเป็นระยะ ๆ ทำให้รบกวนระบบ และสินเปลืองแรงงานเยอะจึงไม่ค่อยนิยมใช้

โดย ผศ.จามรี เครือหงษ์
สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ)
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

จำนวนผู้เข้าชม 364 คน
©2020 กลุ่มวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน (IT4CD)
All Rights Reserved. ติดต่อ orasa.t@nrsu.ac.th