การออกแบบส่วนประกอบของระบบ

          1.ถังเลี้ยงปลา (Fish tanks)
          ถังเลี้ยงปลา เพื่อให้สามารถกำจัดตะกอนออกจากบ่อเลี้ยงปลาได้อย่างมี ประสิทธิภาพมากที่สุดจึงออกแบบให้เป็นถัง ทรงกระบอก สูง 1 เมตร ปริมาตร 500 ลิตรพื้นถังลาดเอียง 10 เปอร์เซ็นต์ เข้าสู่จุดศูนย์กลางเป็นทรงกรวย ที่ก้นกรวย เจาะรู ø 2 นิ้ว ด้านล่างสุดเชื่อมต่อด้วยข้องอพีวีซี ø 2 นิ้ว




          ถังดักตะกอน (Sedimentations)
          ถังตกตะกอน เพื่อประหยัดพื้นที่ใช้งานจึงออกแบบให้เป็นถังยืน ทรงกระบอก เส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เซนติเมตร ปริมาตร 200 ลิตรสูง 1 เมตร พื้นถัง เป็นทรงกรวย เจาะรูที่ผนังต่ำจากขอบด้านบนสุดของถังประมาณ 10 เซนติเมตร เชื่อมด้วยข้อต่อตรง ø2 นิ้ว (1) เพื่อใช้เป็นทางให้น้ำเข้าถัง และที่ผนังด้านตรงข้าม เจาะรูต่ำจากขอบบนสุดของถังประมาณ 15 เซนติเมตร เชื่อมด้วยข้อต่อตรง ø 1.5 นิ้ว เพื่อเป็นทางระบายน้ำออกจากถัง (2) และเจาะรูที่ก้นกรวย (3) เชื่อมด้วยข้อต่อ พีวีซี ø 1.5 นิ้ว จากนั้นจึงเชื่อมต่อกับข้องอจ้านวน 3 ตัว และเชื่อมกับวาล์ว ø 1.5 นิ้ว เพื่อใช้ระบายตะกอน (5) แบ่งถังตกตะกอนออกเป็น 2 ช่องด้วยแผ่นพลาสติก แข็ง (4) เพื่อบังคับทิศทางและระยะทางการไหลของน้ำ ให้ไหลจากด้านบน สู่ก้นถัง และไหลจากก้นถังสู่ด้านบนเพื่อระบายออกจากถังต่อไป

          ถังกรองชีวภาพและการปลดปล่อยแร่ธาตุ (Bio-filter and mineralization)
          ถังกรองชีวภาพ เป็นถังทรงกระบอกมีฝาปิด ปริมาตร 60 ลิตร เจาะรูที่ก้น ถัง (1) เชื่อมด้วยข้อต่อพีวีซี ø 1 นิ้วและต่อกับ ข้องอ ø 1 นิ้ว 3 ตัว และต่อกับ วาล์ว ø 1 นิ้ว (2) เพื่อเป็นทางระบายตะกอน ด้านในถังบุด้วย ตะกร้าพลาสติก (3) ø 15 นิ้ว 1 ใบ เพื่อใช้บรรจุวัสดุกรองชีวภาพ (bio-ball) ซึ่งท้าจากพลาสติกมีพื้นที่ ผิวรวม 300 ม2 / ม3 สามารถกำจัดแอมโมเนียได้ 0.45 กรัม / ตารางเมตร / วัน



ถังกรองชีวภาพ

ถังกรองชีวภาพ

          รางปลูกพืช
          กระบะปลูกพืช กระบะปลูกพืชทำจาก Styrofoam หรือลำรางปลูกพืช กระบะปลูกพืชที่สร้างด้วย Styrofoam ลึก 10 เซนติเมตร ใช้แผ่นพลาสติก ความ หนา 0.2 มิลลิเมตร บุด้านใน เพื่อป้องกันน้ำรั่วซึม ปิดทับด้วยแผ่นโฟมเจาะรู ขนาด และระยะของรูที่เจ้าขึ้นชนิดของพืชที่ปลูก แผ่นโฟมชิ้นนี้จะเป็นวัสดุที่คอยพยุงให้ต้น พืชทรงตัวและลอยอยู่บนผิวน้ำในกระบะปลูกพืช กระบปลูกพืชวางบนโครงเหล็กทำจากเหล็กแป็บน้ำ ø¾ นิ้วความสูง 1.20 เซนติเมตร เพื่อใช้เป็นแปลงปลูกพืช ขนาด 1 x 10 ตารางเมตร 2 แปลงที่ทำหน้าที่ เป็นส่วนบำบัดคุณภาพน้ำให้กับระบบ



รางปลูกพืช

          ถังพักน้ำ
          ถังพักน้ำเป็นถังพลาสติกทรงสี่เหลี่ยม ปริมาตร 60 ลิตร ความสูงของ ผนัง 45 เซนติเมตรเป็นจุดที่ต่ำสุดของระบบ ใช้เป็นจุดพักน้ำของระบบ



ถังพักน้ำ

          ปั๊มน้ำ
          ปั๊มน้ำ ใช้ปั๊มน้ำขนาด 35 วัตต์ อัตราการไหลของน้ำ 2,000 ลิตร/ชั่วโมง ใช้สูบน้ำจากถังพักน้ำขึ้นสู่กระบะปลูกพืช โดยที่ปลาท่อส่งน้ำจะต่อกับท่อพีวีซี ø¾ นิ้ว และเจาะรูที่ผนังด้านข้าง ๆ ใดข้างหนึ่งขนาด 2 มิลลิเมตรเพื่อให้น้ำออก จำนวนรู และระยะเท่ากับจำนวนช่องในกระบะปลูกพืชที่ใช้ ส่วนปลายอีกด้านหนึ่งของท่อส่ง น้ำปิดทึบ



ปั๊มน้ำ

          ระบบเติมอากาศ (Aerations)
          ใช้ปั๊มลมขนาด 35 วัตต์ต่อสายอากาศเพื่อส่งอากาศสู่ถังพักน้ำ ถังกรอง ชีวภาพและถังเลี้ยงปลา ที่ปลายท่ออากาศจะเสียบต่อกับหัวทรายเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว เพื่อใช้กับถังพักน้ำและถังกรองชีวภาพ ส่วนในถังเลี้ยงปลาจะต่อกับแอร์ลิฟท์ ซึ่งทำจากท่อพีวีชี ø¾ นิ้ว ยาว 30 เซนติเมตร ปลายด้านบนต่อกับข้องอ ø¾ นิ้ว และ ที่ปลายข้องออีกด้านจะต่อกับท่อพีวีซีขนาดเดียวกันความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร และที่ปลายท่อด้านล่างจะเจาะรูที่ผนังเพื่อต่อกับท่ออากาศ ให้ห่างจากปลายด้านล่างสุดของท่อประมาณ 3 เซนติเมตร ซึ่งจะติดตั้งระบบแอร์ลิฟท์ในถังเลี้ยงปลาจ้านวน 3 จุด โดยติดตั้งให้ด้านบนสุดของระบบแอร์ลิฟท์เท่ากับความสูงของระดับน้ำในถัง เลี้ยงปลาพอดี ระบบนี้นอกจากจะเพิ่มอากาศให้กับปลาในระบบแล้ว ยังทำให้กระแสน้ำในถังไหลหมุนเวียนเป็นวงกลม ทำให้สามารถรวบรวมตะกอนเข้าสู่จุดศูนย์กลางของถังและเข้าสู่ก้นถัง ทำให้ของเสียระบายออกจากถังเลี้ยงปลาได้มากที่สุด หรือจนกระทั่งหมดไปจากถังเลี้ยงปลา

โดย ผศ.จามรี เครือหงษ์
สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (เทคโนโลยีการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ)
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

จำนวนผู้เข้าชม 510 คน
©2020 กลุ่มวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน (IT4CD)
All Rights Reserved. ติดต่อ orasa.t@nrsu.ac.th