การเกษตรแนวในม่ เพื่อการเพิ่มผลผลิตที่ยั่งยืน

เนื่องจากการปลูกพืชและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําในสมัยก่อนนั้นเป็นการทําเกษตรเพื่อการ ถ่ารงชีวิตภายในครัวเรือน ต่อมาเมื่อโลกมีการพัฒนามากขึ้นการปลูกพืชและการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ํา เข้ามามีบทบาทสําคัญ กลายเป็นการประกอบอาชีพเพื่อการค้าและการท่ากําไร จากสาเหตุดังกล่าว ทําให้เกิดการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ําและการเพาะปลูกเป็นอาชีพมีปริมาณมากขึ้น เพื่อให้ เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค จากกิจกรรมดังกล่าวส่งผลให้สิ่งแวดล้อมได้รับ ผลกระทบจากน้ําเสียที่ระบายออกมาสู่สิ่งแวดล้อม

กิจกรรมทางด้านการเกษตรแม้ว่าจะมีประโยชน์ในการผลิตอาหารเพื่อใช้ในการดํารงชีวิต ของมนุษย์ แต่ในขณะเดียวกันกรรมวิธีในการผลิตก็จะปล่อยของเสียออกมาทําลายสิ่งแวดล้อมได้ เหมือนกัน เนื่องจากประชากรโลกเพิ่มจํานวนมากขึ้นจึงเป็นแรงขับให้มีการขยายกําลังการผลิต สินค้าทางการเกษตรเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ มีการใช้ยาและสารเคมีในการป้องกันและ กําจัดศัตรูพืชเพิ่มมากขึ้น ก็ยิ่งส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์มากขึ้น ยาและสารเคมี ที่ใช้ฝากตกค้างอยู่ในผลผลิตก็จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภค นอกจากนั้นความ แปรปรวนของสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงขึ้นในปัจจุบัน ทําให้การทําอาชีพเกษตรมีความยุ่งยาก มากขึ้น การเกษตรจึงต้องอาศัยนวัตกรรมเพื่อเอาชนะอุปสรรคต่าง ๆ เพื่อผลิตอาสารให้ เพียงพอต่อความต้องการที่สูงขึ้น

การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีการขยายกําลังการผลิตในภาค เกษตรกรรมเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของผู้บริโภค และมีการพัฒนาเทคนิคทางการ เกษตรต่างๆ เพื่อเพิ่มผลิตผลให้มากขึ้น เช่น การปรับปรุงพันธุ์พืชและสัตว์ การใช้ปุ๋ยและ ยากําจัดศัตรูพืช การใช้อาหารสัตว์สําเร็จรูปและวัคซีนป้องกันโรคสัตว์ เป็นต้น การขยายตัวของ กิจกรรมทางการเกษตร โดยเฉพาะการใช้ยาและสารเคมีในการป้องกันและกําจัดศัตรูพืชที่เพิ่มมาก ขึ้นนี้ ย่อมส่งผลเสียต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศน์มากขึ้น ยาและสารเคมีที่ใช้หากตกค้างอยู่ใน ผลผลิตก็จะมีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้บริโภคอีกด้วย

ปัจจุบันการเพราะเลี้ยงสัตว์น้ํามีการเจริญเติบโตเป็นอย่างมาก และได้และได้มีการพัฒนา ไปเป็นอุตสาหกรรมเพาะเลี้ยงเพื่อให้เพียงพอต่อการบริโภคและส่งออก การเลี้ยงแบบธรรมดา ในอดีตถูกแทนที่ด้วยการเลี้ยงแบบกึ่งพัฒนาและแบบพัฒนาซึ่งมีความต้องการป้อนอาหารที่สูง ส่งผลให้เกิดปัญหาการเสื่อมโทรมของคุณภาพน้ําในบ่อเลี้ยงจากปริมาณของเสียที่สะสมภายในบ่อ ของเสียมีความสําคัญและส่งผลกระทบอย่างมากต่อสัตว์น้ํา ได้แก่ของเสียที่มีไนโตรเจนเป็น องค์ประกอบ ทั้งในรูปของสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ ที่เกิดจากการขับถ่ายของสัตว์ป่าและจาก การย่อยสลายของอาหารที่เหลือจากการบริโภค ซึ่งส่งผลให้สัตว์น้ํามีความต้องการออกซิเจน สูงขึ้น เกิดอาการเครียด ส่งผลให้เสี่ยงต่อการติดโรคและนอกจากจะทาให้คุณภาพน้ําในบ่อเลี้ยง ลดลงแล้ว การปล่อยน้ําทิ้งที่มีของเสียไนโตรเจนเหล่านี้ลงสู่แหล่งน้ําธรรมชาติจะกระตุ้น ปรากฎการณ์ยูโทรฟิเคชั่น ซึ่งทําให้พืชน้ําและจุลสาหร่ายเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วจนปริมาณ ออกซิเจนในน้ําไม่เพียงพอ เกิดการเน่าเสียและทําให้เกิดความตื่นเย็นในระยะยาว ด้วยเหตุนี้การ เลี้ยงสัตว์น้ําในระบบปิดที่มีการบําบัดและหมุนเวียนน้ํากลับมาใช้ใหม่อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากจะควบคุมคุณภาพน้ําในบ่อเลี้ยงได้แล้วยังเป็นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการ ปล่อยน้ําทิ้งจากบ่อเลี้ยงอีกด้วย

จากปัญหาดังกล่าวจึงได้มีการคิดค้นระบบบริหารจัดการและการใช้เทคโนโลยีต่างๆเพื่อแก้ ปัญหา เช่น การปลูกพืชไร้ดิน หรือ ไฮโดรโปรนิกส์ (Hydroponic) และแนวพระราชดําริพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ว่าด้วยการบริหารจัดการที่ดินและน้ําเพื่อการเกษตรให้เกิดประโยชน์สูง สุดด้วยผลักเศรษฐกิจพอเพียง และเน้นการผสมผสานระหว่างเกษตรอินทรีย์กับเทคโนโลยี จากแนวคิดข้างต้นจึงเกิดเป็น ระบบอะควาโปนิกส์ (Aquaponic) ที่มาของการเลี้ยงปลาแบบ อะควาโปนิกส์ เราอาจคุ้นเคยกับระบบปลูกพืชแบบไร้ดินที่เรียกว่า ไฮโดรโปรนิกส์ แต่ถ้าพูดถึง อะควาโปนิกส์หลายคนยังไม่รู้จัก อันที่จริงแล้วทั้งไฮโดรโปรนิกส์และอะควาโปนิกส์เป็นรูปแบบ การปลูกพืชที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งอะควาโปนิกส์มาจากคําว่า การปลูกพืชร่วมกับการเลี้ยงสัตว์ป่า ดังนั้นอะควาโปนิกส์จึงหมายถึง การรวมระบบของการปลูกพืชและการเลี้ยงสัตว์น้ําเข้าด้วยกัน ซึ่งปัจจุบันทําได้โดยการเลี้ยงปลาแบบน้ําไหลเวียนร่วมกับการปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปรนิกส์

การใช้พืชในการบําบัดสารอินทรีย์ในน้ําเสียเป็นอีกวิธีการแนึ่งซึ่งได้รับความนิยมอย่าง แพร่หลาย เนื่องจากเป็นกระบวนการบําบัดที่ใช้พลังงานน้อยและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เป็นที่มาของแนวคิดการเลี้ยงสัตว์น้ําและการปลูกพืชผสมผสานอะควาโปนิกส์ ซึ่งเป็นการรวม ระบบของ การเลี้ยงสัตว์น้ําและการปลูกพืชแบบไร้ดิน (ไฮโดรโปรนิกส์) เข้าด้วยกัน โดยอาศัยหลัก ที่ว่า บ่อเลี้ยงสัตว์ป่าซึ่งอุดมไปด้วยธาตุที่เป็นสารอาหารแลักสําหรับพืช ซึ่งพืชจะดูดซึมสารเหล่านี้ ไปใช้ในการเจริญเติบโต นอกจากนี้แบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในรางปลูกไฮโดรโปรนิกส์และอยู่ร่วมกัน รากพืชจะทําหน้าที่เป็นระบบกรองแบบชีวภาพ ทําให้น้ํามีความสะอาดเพียงพอที่จะปล่อยทิ้งหรือ ถูกนํากลับมาใช้ในการเลี้ยงสัตว์น้ํา ด้วยเหตุนี้นอกจากน้ําเสียจะได้รับการบําบัดแล้วเกษตรกรยัง สามารถเก็บเกี่ยวพืชผักที่ปลูกเป็นรายได้เสริมอีกทางแนึ่ง อย่างไรก็ตามการน่าระบบ อะควาโปนิกส์ไปใช้งานได้อย่างสมบูรณ์นั้น สัดส่วนของสัตว์น้ําที่เลี้ยงและพืชที่ปลูกจะต้องมี ความสัมพันธ์กัน โดยปริมาณของเสียจากการเลี้ยง จะต้องมีปริมาณที่มากพอที่พี่ยจะสามารถนํา ไปใช้ได้อย่างเพียงพอ หากมีการปลูกพืชจํานวนมากแต่มีปริมาณของเสียน้อยก็จะทําให้พียไม่ เจริญเติบโตเท่าที่ควร ในทางตรงข้ามฝากปริมาณของเสียมีมากเกินที่พียจะนําไปใช้ จะส่งผลให้ มีของเสียสะสมในระบบจนถึงระดับแนึ่งที่ อาจเป็นพิษต่อสัตว์น้ําได้

โดย รศ. ผ้วน เพ่งเซ้ง และคณะ
มหาวิทยาลัยลักษณ์

จำนวนผู้เข้าชม 877 คน
©2020 กลุ่มวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน (IT4CD)
All Rights Reserved. ติดต่อ orasa.t@nrsu.ac.th