พืชและปลา ที่เหมาะกันระบบอะควาโปนิกส์

มีพืชหลายชนิดที่สามารถปลูกกับระบบนี้ได้ แบ่งเป็นกลุ่ม ๆ เช่น กลุ่มผัก กินไบ เช่น ผักกาด ต้นแอม กลุ่มผักกินผล เช่น มะเขือเทศ แตงกวา พริก และ กลุ่มพืชผักสมุนไพร เช่น กะเพรา โหระพา สาระแน่

จะปลูกพืชได้สักเท่าไหร่ต่อจํานวนปลาที่มี

จํานวนพืชที่ปลูกมีความสัมพันธ์โดยตรงกับ จํานวนปลา ขนาดของปลา ปริมาณอาหาร ปลาที่ให้แต่ละวัน จากการทดสอบพบว่าในแต่ละ 60-100 กรัมของ อาหารปลาที่ให้แต่ละวัน สามารถจะปลูกพืชในระบบอะควาโปนิกส์ได้1-3 ตารางเมตร ถังเลี้ยงปลาขนาด 1 ตัน รองรับ แปลงปลูกพืชแบบรากแซ่ลึกได้ประมาณ 10 ตารางเมตร ปล่อยปลานิลขนาด 30 ตัวต่อกิโลกรัม ได้ 100 ตัว ปล่อยปลาดุกขนาด 2 นิ้ว ได้ 500 ตัว 1 รอบการผลิตใช้เวลาเลี้ยงปลา 4 เดือน ผลิตผักบุ้งหรือผักสลัดได้ 8 รุ่น ผลิตมาเขือเทศและขึ้นฉ่ายได้ 1 รุ่น เป็นต้น

ปลาอะไรที่สามารถเลี้ยงได้ในระบบนี้

มีปลาหลายชนิดที่สามารถเลี้ยงได้ในระบบนี้ เช่น ปลานิล เป็นปลาที่มี ความอดทนและ สามารถปรับตัวเข้าได้กับสภาพแวดล้อมในบ่อเลี้ยงได้ดีต้านทานต่อการเปลี่ยนแปลงของคุณภาพ น้ําได้ช่วงกว้าง ปลาชนิดอื่น ๆ เช่น ปลาคาร์พ ปลาดุก ปลาตะเพียนขาว ปลาแรด และปลาหมอไทย ก็สามารถเลี้ยงในระบบนี้ได้เหมือนกัน

ความหนาแน่นในการปล่อยปลาได้เท่าไหร่

ขึ้นกับขนาดของถังกับชนิดของตัวกรองที่ใช้ในระบบการเลี้ยงใน อะแควเรียม มีข้อกําฝนด อยู่ว่าปล่อยปลาขนาด 1 นิ้วต่อน้ํา 1 แกลลอน ในระบบที่ใหญ่ขึ้นและมีระบบกรองที่เหมาะสม ในการเลี้ยงเพื่อการค้าปกติจะปล่อย ปลาขนาดสูงสุดที่ครึ่งปอนด์ต่อแกลลอนของน้ํา หรือ 60 ถึง 100 กิโลกรัมต่อน้ํา 1 ตัน หรือสามารถปล่อยปลานิลได้ 100 ตัว ปล่อยปลาดุกได้ 500 ตัว

ขนาด
(ถังเลีี้ยงปลา : แปลงพืช)
ปลานิล
(ตัว)
ผักสลัด
(ตัว)
100 ลิตร : 1 ตารางเมตร
10
80
250 ลิตร : 2.5 ตารางเมตร
25
200
500 ลิตร : 5 ตารางเมตร
50
400
1,000 ลิตร : 10 ตารางเมตร
100
800

โดย รศ. ผ้วน เพ่งเซ้ง และคณะ
มหาวิทยาลัยลักษณ์

จำนวนผู้เข้าชม 329 คน
©2020 กลุ่มวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน (IT4CD)
All Rights Reserved. ติดต่อ orasa.t@nrsu.ac.th