องค์ประกอบลักของการทําอะควาโปนิกส์

1. ถังเลี้ยงปลา เพื่อให้สามารถกําจัดตะกอนออกจากบ่อเลี้ยงปลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากที่สุดจึงออกแบบให้เป็นถังทรงกระบอกสูง 1 เมตร ปริมาตร 500 ลิตรพื้นดังลาดเอียง 10 เปอร์เซ็นต์ เข้าสู่จุดศูนย์กลางเป็นทรงกรวยที่กันกรวย เจาะรู 6 2 นิ้ว ด้านล่างสุดเชื่อมต่อด้วย ข้องอพีวีซี 2 นิ้วเพื่อเป็นทางระบายน้ําออกจากดังเลี้ยง ด้านบนจะต่อกับท่อยืนพีวีซี 0 2 นิ้ว ความสูงประมาณ 70 เซนติเมตร เพื่อใช้เป็นตัวควบคุมระดับน้ําภายในดังและในขณะเดียวกันก็เป็น ทางระบายของเสียออกจากดังด้วย และภายนอกของท่อยืนนี้จะครอบด้วยท่อพีวีซี 3 นิ้ว ความสูงประมาณ 80 เซนติเมตร ปลายด้านล่างของท่อครอบนี้จะเจาะรูโดยบากเป็นรูปฟันเลื่อย เพื่อเป็นทางระบายตะกอนออกจากส่วนล่างสุดของถังและขณะเดียวกันสามารถป้องกันปลาแนี ออกจากดังเลี้ยงปลาได้ด้วย

ถังเลี้ยงปลา
ถังเลี้ยงปลา

2. ถังดักตะกอน (Sedimentations) ถังตกตะกอน เพื่อประหยัดพื้นนที่ใช้งานจึงออกแบบ ให้เป็นดังยืน ทรงกระบอก เส้นผ่าศูนย์กลาง 40 เซนติเมตร ปริมาตร 200 ลิตรสูง 1 เมตร พื้นดัง เป็นทรงกรวย เจาะรูที่ผนังต่ําจากขอบด้านบนสุดของถังประมาณ 10 เซนติเมตร เชื่อมด้วยข้อต่อ ตรง 62 นิ้ว (1) เพื่อใช้เป็นทางให้น้ําเข้าดัง และที่ผนังด้านตรงข้าม เจาะรูต่ําจากขอบบนสุดของถัง ประมาณ 15 เซนติเมตร เชื่อมด้วยข้อต่อตรง 1.5 นิ้ว เพื่อเป็นทางระบายน้ําออกจากดัง (2) และ เจาะรูที่ก้นกรวย (3) เชื่อมด้วยข้อต่อ พีวีซี g 1.5 นิ้ว จากนั้นจึงเชื่อมต่อกับข้องอจํานวน 3 ตัว และ เชื่อมกับวาล์ว 1.5 นิ้ว เพื่อใช้ระบายตะกอน (5) แบ่งถังตกตะกอนออกเป็น 2 ช่องด้วยแผ่น พลาสติกแข็ง (4) เพื่อบังคับทิศทางและระยะทางการไหลของน้ํา ให้ไหลจากด้านบนสู่ก้นถัง และ ไหลจากกันดังสู่ด้านบนเพื่อระบายออกจากดังต่อไป

3. ถังกรองชีวภาพและการปลดปล่อยแร่ธาตุ ถังกรองชีวภาพเป็นดังทรงกระบอกมีฝาปิด ปริมาตร 60 ลิตร เจาะรูที่กันดัง (1) เชื่อมด้วยข้อต่อพีวีซี 1 นิ้ว และต่อกับ ข้องอ 6.1 นิ้ว 3 ตัว และต่อกับวาล์ว 1 นิ้ว(2) เพื่อเป็นทางระบายตะกอน ด้านในถังบุด้วยตะกร้าพลาสติก(3) 15 นิ้ว 1 ใบ เพื่อใช้บรรจุวัสดุกรองชีวภาพ (bio-ball) ซึ่งทําจากพลาสติกมีพื้นที่ผิวรวม 300 ม2/ม3 สามารถกําจัดแอมโมเนียได้ 0.45 กรัม / ตารางเมตร วัน ด้านบนฝาถังเจาะรู (4) 1.5 นิ้ว เพื่อเป็นทางให้น้ําจากถังตกตะกอนไหลเข้าสู่ดัง และท่อระบายน้ําเข้าถังกรองชีวภาพ (5) จะให้มี ความยาวประมาณ 45 เซนติเมตร เพื่อให้น้ําไหลออกจากจุดที่ลึกสุดของถังและบังคับให้น้ําไห้ล ผ่านวัสดุกรองที่ลอยอยู่ด้านบน ก่อนที่จะไหลออกจากถังทางช่องระบายน้ําออก โดยเจาะรูที่ผนัง ของถัง (6) จากขอบบนสุดของถึงประมาณ 25 เซนติเมตร (7) และเชื่อมด้วยข้อต่อตรงพีวีซี 1 นิ้ว ทั้งนี้ใช้ประโยชน์เพื่อลดความเป็นพิษของแอมโมเนียที่เกิดจากการขับถ่ายของปลา

ถังกรองชีวภาพ
ถังกรองชีวภาพ

4. กระบะปลูกพืช กระบะปลูกพืชทําจาก Styrofoam หรือลํารางปลูกพืช กระบะปลูกพืชที่ สร้างด้วย Styrofoam ลึก 10 เซนติเมตร ใช้แผ่นพลาสติก ความฝันา 0.2 มิลลิเมตร บุด้านใน เพื่อป้องกันน้ํารั่วซึม ปิดทับด้วยแผ่นโฟม เจาะรู ขนาดและระยะของรูที่เจาะขึ้นชนิดของพืชที่ปลูก แผ่นโฟมชิ้นนี้จะเป็น วัสดุที่คอยพยุงให้ต้นพืชทรงตัวและลอยอยู่บนผิวน้ําในกระบะปลูกพืช กระบะ ปลูกพืชวางบนโครงเหล็กทําจากเหล็กแป็บน้ํา 3/4 นิ้วความสูง 1.20 เซนติเมตร เพื่อใช้เป็น แปลงปลูกพืช ขนาด 1 x 10 ตารางเมตร 2 แปลงที่ทําหน้าที่เป็นส่วนบําบัดคุณภาพน้ําให้กับระบบ

5. ถังพักน้ํา ถังพักน้ําเป็นถังพลาสติกทรงสี่เหลี่ยมปริมาตร 60 ลิตร ความสูงของผนัง 45 เซนติเมตรเป็นจุดที่ต่ําสุดของระบบใช้เป็นจุดพักน้ําของระบบ

ถังพักน้ํา

6. ปั้มน้ําใช้ปั้มน้ําขนาด 35 วัตต์ อัตราการไหลของน้ํา 2,000 ลิตร/ชั่วโมง ใช้สูบน้ําจาก ดังพักน้ําขึ้นสู่กระบะปลูกพืช โดยที่ปลาท่อส่งน้ําจะต่อกับท่อพีวีซี 3/4 นิ้ว และเจาะรูที่ผนัง ด้านข้าง ๆ ไดข้างหนึ่งขนาด 2 มิลลิเมตรเพื่อให้น้ําออกจํานวนรู และระยะเท่ากับจํานวนช่องใน กระบะปลูกพืชที่ใช้ ส่วนปลายอีกด้านแนึ่งของท่อส่งน้ําปิดทึบ

7. ระบบเติมอากาศ (Aerations) ปั้มลมใช้ปั้มลมขนาด 35 วัตต์ต่อสายอากาศเพื่อส่ง อากาศ สู่ถังพักน้ํา ถังกรองชีวภาพและดังเลี้ยงปลา ที่ปลายท่ออากาศจะเสียบต่อกับหัวทราย เส้นผ่าศูนย์กลาง 2 นิ้ว เพื่อใช้กับถังพักน้ําและถังกรองชีวภาพ ส่วนในถังเลี้ยงปลาจะ ต่อกับแอร์ลิฟท์ ซึ่งทําจากท่อพีวีซี 3/4 นิ้ว ยาว 30 เซนติเมตร ปลายด้านบนต่อ กับข้องอ 3/4 นิ้ว และที่ปลาข้องออีกด้านจะต่อกับท่อพีวีซีขนาดเดียวกันความยาวประมาณ 5 เซนติเมตร และที่ปลายท่อด้านล่างจะเจาะรูที่ผนังเพื่อต่อกับท่ออากาศ ให้ห่างจากปลายด้านล่างสุดของท่อ ประมาณ 3 เซนติเมตรซึ่งจะติดตั้งระบบแอร์ลิฟท์ ในถังเลี้ยงปลาจํานวน 3 จุด โดยติดตั้งให้ ด้านบนสุดของระบบแอร์ลิฟท์เท่ากับความ สูงของระดับน้ําในถังเลี้ยงปลาพอดี ระบบนี้นอกจาก จะเพิ่มอากาศให้กับปลาในระบบ แล้ว ยังทําให้กระแสน้ําในถังไหลหมุนเวียนเป็นวงกลม ทําให้สามารถรวบรวม ตะกอนเข้าสู่จุดศูนย์กลางของดังและเข้าสู่กันถัง ทําให้ของเสียระบาย ออกจากดัง เลี้ยงปลาได้มากที่สุด หรือจนกระทั่งหมดไปจากดังเลี้ยงปลา

กระบวนการ

1. การติดตั้งระบบ นําส่วนประกอบของชุดอุปกรณ์นี้มาต่อเข้าด้วยกับด้วยท่อพีวีซีขนาด ต่างๆ ก็ทําให้น้ําเสียจากดังเลี้ยงปลาสามารถไหลลงสู่ถังตกตะกอนเพื่อกําจัดตะกอนที่มีขนาดใหญ่ที่สามารถตกตะกอนได้ง่ายออกไป และน้ํา จากถังตกตะกอนจะไลลงสู่ถังกรองชีวภาพเพื่อ กําจัดตะกอนที่อยู่ในรูปสารละลายออกไป และน้ําจะไหลไปรวมที่บ่อพักน้ําซึ่งเป็นจุดต่ําสุดของระบบ และน้ําจากถังพักน้ําก็จะถูกสูบด้วยปั้มน้ําเพื่อส่งไปสู่แปลงปลูกพืชซึ่งเป็นจุดที่อยู่ระดับสูงสุดของ ระบบ และเมื่อน้ําที่ถูกบ้าบัดโดยพืชในแปลงปลูกพืชเสร็จแล้วก็จะไหลกลับสู่ดังเลี้ยง ปลาอีกครั้ง หนึ่ง และเพื่อป้องกันการเกิดออกซิเจนไม่เพียงพอในระบบก็จะมีการเติม ออกซิเจนให้กับระบบใน ถังกรองชีวภาพ ถังพักน้ําและถังเลี้ยงปลาเพิ่มเติมจาก ออกซิเจนที่ได้จากการละลายจากอากาศ
2. จัดเตรียมพื้นที่ขนาดเท่ากับระบบที่ออกแบบไว้ ปรับแต่งพื้นที่ให้ ราบเรียบ
3. จัดวางอุปกรณ์หลักของระบบ โดยใหม่แปลงปลูกพืชอยู่ในระดับสูงกว่าบ่อเลี้ยงปลา เล็กน้อยส่วนอุปกรณ์อื่นให้มีระดับลดหลั่นจากบ่อ เลี้ยงปลาเป็นลําดับ
4. ประกอบระบบเติมอากาศให้กับถังเลี้ยงปลาและถัง กรองชีวภาพ
5. ประกอบปั้มน้ําขนาด 700ลิตร /ชั่วโมง เข้ากับอุปกรณ์
6. เติมน้ําสะอาดเข้าสู่อุปกรณ์จนเต็มเปิดปั้มน้ําให้อุปกรณ์ทํางานตรวจดู การรั่วซึมของ อุปกรณ์ปรับปรุงเมื่อพบปัญหา
7. ปล่อยปลาในถังเลี้ยงปลาน้ําหนักเฉลี่ย 50 กรัม/ตัวความหนาแน่น 50 ถึง 100ตัว /น้ํา 1,000ลิตร ให้อาหารปลาเม็ดนิดลอยน้ําโปรตีน 30 เปอร์เซ็นต์ อัตรา 3 เปอร์เซ็นต์ ของน้ําผนักตัว/วัน แบ่งได้ 2ครั้ง/วัน
8. ย้ายกล้าผักที่ได้เพาะไว้จนมีใบจริงประมาณ 2 ถึง 3 ใบ ไปปลูกในช่องที่ เจาะรูไว้บน แผ่นโฟม ความฝันาแน่นในการปลูก (จํานวนต้น/ตารางเมตร) ขึ้นกับชนิด ของผัก
9. ตรวจระดับน้ําในระบบและเติมน้ําเข้าสู่ระบบให้ได้ระดับเดิมเมื่อพบว่า น้ําสูญเสียไปจาก ระบบ และถ่านตะกอนจากถังตกตะกอนและถังกรองชีวภาพ สัปดาห์ละครั้ง
10. ปรับ pH ของน้ําในระบบให้อยู่ในระดับที่เKมาะสมช่วง 6.5 - 8.0 ถ้า น้ําเป็นกรดให้ใช้ สารละลายปูนขาวค่อย ๆ เติมลงในถังพักน้ําจนกระทั้งน้ํามีค่า pH ตามที่ต้องการ หรืออาจจะตวง น้ํามาปริมาณหนึ่งแล้วค่อย ๆ หยดด้วยสารละลายปูน จนกระทั้งน้ํามีค่า pH ตามที่ต้องการ จดปริมาณของสารละลายที่ใช้ นํามาคํานวณ เพื่อใช้เติมในน้ําทั้งระบบ
11. เก็บเกี่ยวผักที่โตเพียงพอนําไปใช้ประโยชน์ ออกไปบางส่วนและเหลือผัก ไว้ส่วนหนึ่ง ประมาณครึ่งหนึ่งของกระบะปลูกพืช และย้ายกล้าผักเข้ามาปลูก ทดแทนผักที่เก็บเกี่ยวออกไป
12. ทยอยจับปลาที่โตเพียงพอนําไปใช้ประโยชน์จํานวนครึ่งหนึ่งของปลาที่ ปล่อยครั้งแรก และนําปลาขนาดเล็กมาปล่อยคืนเท่ากับจํานวนปลาที่จับออกไป
13. ใช้เครื่องไฟฟ้าสํารองเมื่อกระแสไฟฟ้าหลักขัดข้อง อุปกรณ์ที่ต้องใช้ไฟฟ้าในการ ทํางานคือเครื่องอัดอากาศ ปั้มน้ําจะแยุดทํางาน ถ้าแยุดทํางาน ติดต่อกันนานเกิน 30 นาที จะทําให้ปลาตายได้

ประโยชน์ที่ได้รับ
ข้อดีของระบบอะควาโปนิกส์ คือ ศาสตร์ใหม่ที่ผสมผสานเทคโนโลยีที่ดีที่สุดของการ เลี้ยงปลาและการเพาะปลูกพืชผักแบบไม่ใช้ดิน ดังนั้นไม่ว่าจะทําการเกษตรหรือเพาะปลูกพืช นักขนาดเล็กเพื่อไว้กินเองในครอบครัว

ระบบอะควาโปนิกส์มีข้อดี คือ เป็นระบบการเลี้ยงปลาที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ปล่อย น่าเสียจากการเลี้ยงปลาทิ้งลงสู่แผล่งน้ําธรรมชาติ แต่นําของเสียกลับมาใช้ในการเจริญเติบโต ของพืชส่งผลให้ใช้น้ําน้อยลง ทั้งระบบการผลิตปลาและการปลูกพืช มีรายงานว่าในการปลูกพืช ไร้ดินจะไขน้ําน้อยกว่าการปลูกพืชปกติถึง 90% ลดปัญหาวัชพืช และแมลงไม่ต้องมีการรดน้ํา ไม่ต้องมีการใส่ปุ๋ย ไม่ต้องมีการปักชํา ขุดดินลด ต้นทุนจากการเพาะปลูกความคุ้มค่าที่มากขึ้น ระบบอะควาโปนิกส์เราจะได้ทั้งผลผลิตปลาและพืชผักเพื่อการบริโภค ระบบนี้ใช้แรงงานน้อย ค่าใช้จ่ายต่ํากว่าในการเตรียมดิน ใช้น้ําน้อยเพราะว่าแทบจะไม่มีการเปลี่ยนถ่ายน้ําเลย มีเพียงแต่ การเติมน้ําเข้าไปในระบบชดเชยแทนน้ําที่ระบายออกไป และยังประหยัดธาตุอาหารการปลูกพืช ไม่ว่าเด็กผู้ใหญ่ผู้สูงอายุหรือแม้แต่คนพิการก็สามารถทําได้เป็นกิจกรรมร่วมกันไดในครอบครัวจึง อาจกล่าวโดยสรุปข้อดีจากระบบอะควาโปนิกส์ได้ดังนี้
        * ใช้น้ําน้อยลง เมื่อเทียบกับการเพาะปลูกพืชจากระบบปกติน้อยลงถึง 90%
        * ผมดปัญหาวัชพืช และปัญหาแมลงน้อยลง
        * ไม่ต้องรดน้ํา
        * ไม่ต้องใส่ปุ๋ย
        * ไม่ต้องปักชำ ขุดดิน
        * ลดต้นทุนจากการเพาะปลูกโดยเฉพาะค่าปุ๋ยสําหรับพืช เมื่อเทียบการซื้อปุ๋ยสําหรับ ปลูกพืชระบบไฮโดรโพนิกส์ 1 กิโลกรัมซึ่งมีราคาแพงกว่าการซื้ออาหารปลา 1 กิโลกรัมสําหุรับ ใช้ในระบบอะควาโปนิกส์
        * ความคุ้มค่าในการทําเกษตรในระบบอะควาโปนิกส์คุณจะได้ทั้งปลาและพืชผักเพื่อการ บริโภคในเวลาเดียวกัน         * ระบบอะควาโปนิกส์จะช่วยให้เรื่องของการเลี้ยงปลาควบคู่ปลูกผัก (ผักสวนครัว, ผักออแกนิกส์, ผักสลัด และผักสมุนไพร)
        * ใช้พื้นที่น้อยสามารถทําในพื้นที่แคบๆได้
        * ไม่จําเป็นต้องใช้แสงธรรมชาติ
        * ประหยัดเวลาและขั้นตอนในการดูแล
ข้อเสีย
        * ต้องใช้พลังงานไฟฟ้า
        * ระบบที่เลี้ยงปลาหนาแน่นมาก อาจต้องมีระบบสํารองไฟฟ้า

ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพ
ปัจจัยคุณภาพน้ําที่ส่งผลต่อระบบอะควาโปนิกส์ คือ
1. ปริมาณออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ําต้องมีปริมาณเพียงพอต่อการเจริญเติบโตของปลา และพีช ควรมีค่าไม่น้อยกว่า 3 มิลลิกรัมต่อลิตร
2. ความเป็นกรดด่างในน้ําที่เหมาะสมของการเลี้ยงปลาอยู่ระะ«ว่าง 6.5 - 8.5 แต่ความ เป็นกรดเป็นด่างที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช มีค่าออยู่ในช่วง 6.0 - 6.5 เนื่องจากใน ระดับความเป็นกรดเป็นด่างในสภาวะที่เป็นกรดอ่อนๆ พีชจะดูดซึมแร่ธาตุและสารอาหารเข้าไปใช้ใน การเจริญเติบโตได้ดี ดังนั้นในการเลี้ยงสัตว์น้ํานี้จึงต้องปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างให้ใกล้ เคียงกับ 7 ได้มากที่สุด ซึ่งจําเป็นต้องเลือกชนิดปลาที่สามารถนาเลี้ยงในสภาพความเป็นกรดเป็น ล่างไห้ใกล้เคียงมากที่สุด นอกจากนี้ค่าความเป็นกรดด่างมีผลต่อการละลายของธาตุอาหารพีย เมื่อค่าความเป็นกรดเป็นด่างของนํามากกว่า 7 พบว่าจุลธาตุที่พืชต้องการในปริมาณน้อย ถ้าความเป็นกรดเป็นด่างของน่าน้อยกว่า 6 จะส่งผลให้การละลายลดลง ดังนั้นต้องควบคุมระดับ ความเป็นกรดเป็นด่างของน้ําไว้ที่ระดับ 7 เพื่อให้การละลายของธาตุอาหารแลักและเหมาะสม ต่อการเจริญโตของพืช
3. ขี้ปลาและของเสียจากปลาที่สะสมในบ่อปลา ปลาขับถ่ายของเสียออกมาในรูปยูเรีย ซึ่งจะแตกตัวให้สารประกอบไนโตรเจน พวกแอมโมเนีย สารประกอบฟอสฟอรัสที่สะสมอาจมาจาก ของเสียรืออาหารปลาที่ไม่ย่อย แอมโมเนียความเข้มข้น 0.3 มิลลิกรัมต่อลิตรและไนเตรท 20 มิลลิกรัมต่อลิตรเป็นจุดวิกฤตที่ส่งผลต่ออัตราการรอดตายปลา ดังนั้นระบบการเลี้ยงแบบ อะควาโปนิกส์จําเป็นต้องวิเคราะห์และควบคุมให้ปริมาณแอมโมเนียและไนเตรทถ่ากว่าจุดอันตราย

ข้อแนะนําและการบํารุงรักษา
1. ควรตรวจสอบสุขภาพปลาอย่างสม่ําเสมอ โดยสังเกตจากความผิดปกติของพฤติกรรม เช่น แยุดกินอาหารเชื่องช้า ว่ายรวมตัวกันที่ผิวน้ํา เป็นต้น ซึ่งเป็นสัญญาณว่า สภาวะแวดล้อมในถังเลี้ยงปลามีความเปลี่ยนแปลงไปจากระดับปกติ

2. ขั้นตอนการจับปลา โดยปกติจะทําการระบายน้ําออกเพื่อให้จับ ปลาได้ง่าย แต่ควรนําน้ําที่ระบายออกไปพักไว้ในถังอื่น แล้วนํากลับมาใส่ใน ดังเลี้ยงปลาอีกครั้งหนึ่ง เป็นการรักษาแร่ธาตุและป้องกันการเปลี่ยนแปลงความเข้มข้นของแร่ธาตุที่มากเกินไป

3. ควรตรวจสอบการทํางานของระบบที่ใช้ไฟฟ้าทั้งผมด เช่น ปั้มน้ํา ระบบเติมอากาศ อย่างสม่ําเสมอ หากพบความผิดปกติ จะต้องรีบแก้ไข เนื่องจากระบบอะควาโปนิกส์จําเป็นต้องมีการหมุนเวียนน้ําอย่างต่อเนื่อง ตลอดเวลา

4. ควรท่าการวางแผนเพาะปลูกพืช เพื่อให้มีต้นกล้าพร้อมลงปลูก ในกระบะปลูกพืชทันทีหลังการเก็บเกี่ยว เพื่อรักษาความสมดุลระว่าง จํานวนพีชและปลาในระบบ

โดย รศ. ผ้วน เพ่งเซ้ง และคณะ
มหาวิทยาลัยลักษณ์

จำนวนผู้เข้าชม 1010 คน
©2020 กลุ่มวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน (IT4CD)
All Rights Reserved. ติดต่อ orasa.t@nrsu.ac.th