การเตรียมพื้นที่และวิธีการเพาะเห็ดฟางกองเตี้ย
1. เตรียมแปลงเพาะโดยการขูดหน้าดินให้เรียบ ขนาดแปลงกว้าง 1 เมตร ยาว 5 เมตร
2. โรยปูนขาวผสมเกลือแกง 1 : 1 โดยรอบ


3. การหมักฟาง
- เติมน้ำ 100 ลิตร ลงในถังน้ำพลาสติกหรือกระบะผสม
- ปุ๋ยยูเรีย 1 ขีด, ปุ๋ยสูตร (15-15-15) 1 ขีด, ปุ๋ยสใส่กากน้ำตาล ½ กก., เชื้ออีเอ็ม 100 ซีซี, ฮอร์โมนไข่ 150 ซีซี และปูนขาว 1 ขีด
- ใช้ไม้กวนให้ละลายเข้ากัน แล้วใส่ฟางข้าว 1 ก้อน เกือบเต็มถัง ขนาด 200 ลิตร ย่ำฟาง แล้วใช้อิฐทับฟางข้าวให้จม หมักฟางไว้ 1 คืน

หากต้องการทำเห็ดอินทรีย์ คือ ไม่ใส่ปุ๋ยเคมี
- ให้ใช้วัสดุเพาะอื่น ๆ ได้แก่ เปลือกมันสำปะหลัง และขี้เลื่อยเห็ดเก่า เป็นต้น
- ใช้วิธีการตั้งกองหมักวัสดุเพาะ แทนการแช่น้ำ


4. ทำการยีเชื้อเห็ดฟางด้วยตะแกรงลวด ผสมรวมกับอาหารเสริม รำละเอียด 40 กรัม + แป้งข้าวเหนียว 40 กรัม ต่อเชื้อเห็ดฟาง 1 ก้อน ใช้ 3 ก้อนต่อ 1 แปลงเพาะ คลุกเคล้าให้เข้ากัน


5. ปูพลาสติกรองพื้นแปลงเพาะเห็ด


6. ใส่ฟางข้าวที่ผ่านการหมักจนเต็มแปลง แล้วโรยมูลวัวแห้ง (ที่ผสมปูนขาว 10 : 1 ส่วน) จนทั่วฟาง


7. นำเชื้อเห็ดฟางที่ผสมอาหารเสริม โรยบนมูลวัวแห้ง (มูลวัวผสมปูนขาว) ที่อยู่บนฟางหมัก จากนั้นคลุมทับเชื้อเห็ดฟางด้วยฟางหมักอีกครั้ง


8. ใช้บัวรดน้ำตักน้ำหมักฟาง นำมารดในแปลงที่ทำการเพาะเห็ดแล้ว ปักไม้ไผ่ทำโครง จำนวน 8 ชิ้น/แปลง แล้วคลุมโครงไม้ด้วยพลาสติกแบบทับซ้อนกัน 2 ผืน


9. คลุมด้วยฟางให้มิดพลาสติก
10. ทำการคลุมสแลนด้านบนและด้านข้างของเห็ดฟางกองเตี้ย เพื่อเป็นการบังลมและแสงแดดที่มากเกินไป ทิ้งไว้ประมาณ 3-5 วัน (ช่วงฤดูร้อน) และ 5-10 วัน (ช่วงฤดูหนาว)


11. หลังจากพบว่ามีเส้นใยเห็ดเจริญเต็มวัสดุเพาะแล้ว ให้ทำการเปิดพลาสติกที่คลุมแปลงเห็ดฟางออก ให้อากาศ 1-2 ชม. ส่วนจะรดน้ำหรือไม่ให้สังเกตว่าวัสดุเพาะยังมีความชื้ออยู่หรือไม่
จากนั้นให้ทำการปิดถุงแต่ไม่ต้องสนิท แล้วทำการคลุมฟางเช่นเดิม ควบคุมอุณหภูมิช่วงเปิดดอกที่ 28-32 องศาเซลเซียส


12. จากนั้นประมาณ 7-10 วัน จะสามารถเก็บเกี่ยวดอกเห็ดฟางเก็บได้ประมาณ 2-3 วัน ก็จะหมดเห็ดรุ่นแรก
13. เมื่อเก็บเห็ดรุ่นแรกเสร็จแล้ว ให้โรยมูลวัวแห้ง ตามด้วยรดน้ำให้ชุ่ม ปิดกองแต่ไม่ต้องสนิท แล้วคลุมด้วยฟางเช่นเดิม ทิ้งไว้ 5-7 วัน ก็จะได้ดอกเห็ดอีกหนึ่งรุ่น
ผลผลิตที่ควรได้ต่อ 1 ก้อนเชื้อคือ 1 กิโลกรัม

เส้นทางเว็บไซต์
* การปรับภูมิทัศน์ ปลูกพันธุ์ไม้ และติดป้าย ในการทำศูนย์เรียนรู้
* การอบรม “การผลิตอาหารข้น แร่ธาตุก้อนเพื่อลดต้นทุน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการเลี้ยงแพะ-แกะ”
* การแปรรูปสัตว์น้ำจืด
* เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า (น้ำตีผลา)
* เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า (เค้กไข่ใต้หวัน)
* อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเส้นใยจากของเหลือการเกษตร
* การอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสื่อวิดีโอคลิปด้วยมือถือเพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่ในการเผยแพร่ศาสตร์พระราชาฯ
* การผลิตเห็ดฟางและเห็ดโคนน้อยด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
* การเพิ่มศักยภาพการเพาะเลี้ยงปลากัด
* การผลิตผักปลอดภัยโดยวิธีผสมผสาน
* การผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง
* เทคนิคการสร้าง Content และ Fanpage

จำนวนผู้เข้าชม 147 คน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
398 หมู่ 9 ถ.สวรรค์วิถี ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000

©2021 กลุ่มวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน (IT4CD)
All Rights Reserved. ติดต่อ orasa.t@nrsu.ac.th