วัสดุที่ใช้
1. ปลายฟางข้าว
2. ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0


3. แคลเซียมไนเตรท
4. กากน้ำตาล

5. ปูนขาว


6. รำละเอียด


7. หัวเชื้อเห็ดโคนน้อย


8. แป้งข้าวเหนียว
9. มูลโค

อุปกรณ์และโรงเรือน
1. กระบะผสม


2. ตะกร้า


3. บัวรดน้ำ


4. โรงเรือน

วันที่ 1
1. เติมน้ำ ประมาณ 150 ลิตร ในกระบะพลาสติก เติมรำละเอียด 0.5 กิโลกรัม กากน้ำตาล 0.5 กิโลกรัม ปุ๋ยยูเรีย 0.5 กิโลกรัม แคลเซียมไนเตรท 0.5 กิโลกรัม และปูนขาว 200 กรัม


2. นำฟางแห้ง 1 ก้อน (15 กก.) มาใส่และย่ำจนนิ่ม
3. แล้วนำขึ้นไปกองและคลุมผ้าหมักฟางไว้ 1 คืน

วันที่ 2
1. นำเชื้อเห็ด 1 ถุง มายีให้ร่วน (ขยี้เบา ๆ) นำมาคลุกกับอาหารเสริม (แป้งข้าวเหนียว 40 กรัม ผสมรำละเอียด 40 กรัม) แบ่งเป็น 6 กองย่อย ใช้เพาะเห็ดได้ 2 ตะกร้า


2. นำฟางที่หมักแล้วที่เตรียมในวันที่ 1 ใส่ลงในตะกร้าเพาะเป็นชั้น ๆ
- ชั้นที่ 1 ใส่ฟางลงในตะกร้าหนา 2 ช่องตาตะกร้า ใช้มือกดให้แน่น โรยมูลโคบริเวณขอบตะกร้า แล้วโรยเชื้อเห็ดที่เตรียมไว้บนมูลโค
- ชั้นที่ 2 ปฏิบัติเหมือนเช่นชั้นที่ 2


- ชั้นที่ 3 ใส่ฟางหนา 2 ช่องตาตะกร้า ใช้มือกดให้แน่น โรยมูลโคให้ทั่วหน้าฟางข้าว แล้วโรยเชื้อเห็ดที่เตรียมไว้ให้ทั่วหน้ามูลโค


- รดด้วยน้ำที่ใช้แช่ฟางให้ชุ่ม แล้วนำเข้าไปใส่ในโรงเรือน และปิดโรงเรือนให้มิดชิด
- บ่มไว้ 3-4 วัน จะเริ่มมีเส้นใยเห็ดขึ้นเต็มตะกร้า
- รักษาอุณหภูมิให้ได้ประมาณ 35-40 องศาเซลเซียส และรักษาความชื้นให้ได้ 80 เปอร์เซ็นต์


- หลังจากเส้นใยเห็ดเจริญเต็มตะกร้าให้ทำการตัดเส้นใยเห็ดด้วยการเปิดโรงเรือนและรดน้ำสะอาด
- แล้วปิดโรงเรือนโดยเปิดช่องระบายอากาศด้านล่างและด้านบน พร้อมลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนลงให้อยู่ที่ 30-35 องศาเซลเซียส


- หลังจากปิดโรงเรือนต่ออีก 3-4 วัน เห็ดจะเริ่มเก็บเกี่ยวได้ ซึ่งรวมเวลาในการเพาะ 6-8 วัน และทำการเก็บผลผลิตได้ติดต่อกัน เป็นเวลา 7-10 วัน (ประมาณ 1 กิโลกรัม/ตะกร้า)


- โดยจะทำการลดน้ำตัดเส้นใยเป็นระยะประมาณ 3-4 วัน โดยสังเกตว่า เมื่อเห็ดรุ่นแรกเริ่มไม่ให้ผลผลิตแล้ว จึงทำการลดน้ำเพื่อให้เชื้อเห็ดเกิดการรวมตัวของเส้นใยอีกครั้ง และเกิดเป็นดอกเห็ดรุ่นต่อไป


- เก็บเห็ดโคนน้อยขณะดอกตูม ล้างทำความสะอาด และผึ่งลมให้แห้ง


- บรรจุใส่ถาดโฟม หรือถุงพลาสติก และเก็บรักษาไว้ในตู้เย็นได้ 7 วัน

เส้นทางเว็บไซต์
* การปรับภูมิทัศน์ ปลูกพันธุ์ไม้ และติดป้าย ในการทำศูนย์เรียนรู้
* การอบรม “การผลิตอาหารข้น แร่ธาตุก้อนเพื่อลดต้นทุน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการเลี้ยงแพะ-แกะ”
* การแปรรูปสัตว์น้ำจืด
* เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า (น้ำตีผลา)
* เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า (เค้กไข่ใต้หวัน)
* อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเส้นใยจากของเหลือการเกษตร
* การอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสื่อวิดีโอคลิปด้วยมือถือเพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่ในการเผยแพร่ศาสตร์พระราชาฯ
* การผลิตเห็ดฟางและเห็ดโคนน้อยด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
* การเพิ่มศักยภาพการเพาะเลี้ยงปลากัด
* การผลิตผักปลอดภัยโดยวิธีผสมผสาน
* การผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง
* เทคนิคการสร้าง Content และ Fanpage

จำนวนผู้เข้าชม 251 คน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
398 หมู่ 9 ถ.สวรรค์วิถี ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000

©2021 กลุ่มวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน (IT4CD)
All Rights Reserved. ติดต่อ orasa.t@nrsu.ac.th