เหตุใดใบสับปะรดจึงน่าสนใจ
ใบสับปะรดถือเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ให้เส้นใยที่มีศักยภาพเพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมกระดาษ

เป็นของเหลือทิ้ง ที่ปริมาณมาก
ในการปลูกพืชต่างๆ จะต้องใช้พื้นที่มีการเตรียมดิน บำรุงดิน ใส่ปุ๋ย รดน้ำ ใช้ยาฆ่าแมลงรวมทั้งสารกระตุ้นต่างๆ ใช้เครื่องจักรกลการเกษตร ซึ่งแต่ละกิจกรรมก็จะทิ้งรอยเท้าคาร์บอน (carbon footprint) ไว้ปริมาณหนึ่ง ดังนั้นเมื่อพิจารณาในเร่ืองของความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และการใช้พลังงานในรูปแบบต่างๆ การใช้ของเหลือทิ้งจาก การเกษตรจะได้เปรียบกว่าการใช้พืชที่ต้องปลูกขึ้นมา
สับปะรดเป็นสินค้าเศรษฐกิจของประเทศไทย เราเป็นผู้ส่งออกสับปะรดกระป๋องอันดับ 1 ของโลก มีพื้นที่ปลูกสับปะรดในประเทศไทยเกือบ 600,000 ไร่ ในแต่ละรอบการผลิต จะมีใบสับปะรดสดท่ีถูกท้ิงรวมมากกว่า 4000 กิโลกรัมต่อไร่ (ในบางพื้นที่อาจมีมากถึง 8,000 – 10,000 ตันต่อไร่) ใบสับปะรดเหล่านี้เป็นภาระต่อเกษตรกร ใบ สับปะรดสดมีเส้นใยโดยเฉลี่ยประมาณ 2.7 %โดยน้ำหนัก ดังนั้น หากสามารถแยกเส้นใยเหล่าน้ีออกมาจากใบสับปะรด ได้ ก็จะได้เส้นใยอย่างน้อยประมาณ 100 กิโลกรัมต่อไร่ (หรืออาจสูงถึง 216 – 270 กิโลกรัมต่อไร่) ปริมาณเส้นใย แห้งที่ได้นี้อาจถือได้ว่าเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างสูงหากเทียบกับผลผลิตปอที่มีอัตราผลผลิตเฉลี่ยเส้นใยแห้งประมาณ 240 กิโลกรัมต่อไร่

สับปะรดที่นำมาใช้ในการผลิตเส้นใยเพื่ออุตสาหกรรมสิ่งทอ ควรมีอายุ 1-1.5 ปี ถ้าอ่อนไปเส้นใยที่ได้ก็จะไม่แข็งแรง และสั้น ส่วนใบที่แก่เกินไปก็จะหยาบและแข็ง การเก็บเกี่ยวจะตัดจากต้นที่ตัดผลไปแล้ว โดยทั่วไปสามารถเก็บใบสับปะรดได้ 2.7 กิโลกรัมต่อต้น ใบที่เหมาะสมในการแยกเส้นใยควรยาวประมาณ 80-100 เซนติเมตร เขียวสด สมบูรณ์ไม่มีสีเหลือง หรือสีน้ำตาล หรือเป็นแผล และจะต้องทำการขูดให้เสร็จหลังจากการตัด 24 ชั่วโมง โดย ใบสับปะรดถือเป็นพืชชนิดหนึ่งที่ให้เส้นใยที่มีศักยภาพเพื่อเป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมสิ่งทอ และอุตสาหกรรมกระดาษ




เส้นทางเว็บไซต์
* การปรับภูมิทัศน์ ปลูกพันธุ์ไม้ และติดป้าย ในการทำศูนย์เรียนรู้
* การอบรม “การผลิตอาหารข้น แร่ธาตุก้อนเพื่อลดต้นทุน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการเลี้ยงแพะ-แกะ”
* การแปรรูปสัตว์น้ำจืด
* เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า (น้ำตีผลา)
* เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า (เค้กไข่ใต้หวัน)
* อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเส้นใยจากของเหลือการเกษตร
* การอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสื่อวิดีโอคลิปด้วยมือถือเพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่ในการเผยแพร่ศาสตร์พระราชาฯ
* การผลิตเห็ดฟางและเห็ดโคนน้อยด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
* การเพิ่มศักยภาพการเพาะเลี้ยงปลากัด
* การผลิตผักปลอดภัยโดยวิธีผสมผสาน
* การผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง
* เทคนิคการสร้าง Content และ Fanpage

จำนวนผู้เข้าชม 217 คน
©2021 กลุ่มวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน (IT4CD)
All Rights Reserved. ติดต่อ orasa.t@nrsu.ac.th