กระดาษจากใบสับปะรดและฟางข้าว
นำใบสับปะรดมาล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วตัดเป็นท่อนขนาด ประมาณ 3-5 นิ้ว ใส่น้ำในหม้อ ประมาณให้ท่วมใบสับปะรด ใส่โซดาไฟ แล้วจึงใส่ใบสับปะรดไปต้ม โดยต้มนาม 3-4 ชั่วโมง






จนใบสับปะรดเปื่อย ตักใบสับปะรดที่เปื่อยยุ่ยใส่กะละมั่งล้างน้ำจนสะอาด หรือจนไม่มีเมือกเกาะบนใยสับปะรด หรือล้างประมาณ 5-8 น้ำ แล้วจากนั้นให้บีบน้ำให้แห้งสนิท (ถ้าต้องการใส่สีให้นำเส้นใยที่ได้นำไปต้มและผสมสีลงไปโดยต้มประมาณ10 นาทีจึงนำขึ้นมาบีบน้ำให้แห้งสนิท) นำเยื่อจากใบสับปะรดที่แห้งสนิทมาแบ่งขนาดตามตวามหนาของขนาดกระดาษที่ต้องการ โดยตัวอย่างเลือกใช้ แผ่นตะแกรงกรอง ขนาด 39 x 40 cm แบ่งขนาดเยื่อสับปะรดที่แห้งสนิทแบ่งเป็นก้อน ก้อนละ 80 – 100 กรัม ต่อกระดาษ 1 แผ่นที่ได้



จากนั้นนำก้อนเยื่อใยสับปะรดไปปั่นให้เยื่อมีความฟูมากยื่นขึ้นโดยใช้เครื่องปั่น (ผสมน้ำในขณะปั่น)



เมื่อปั่นเสร็จนำเยื่อที่ได้ไปเทใส่ตะแกรงที่เตรียมไว้ให้ทั่ว โดยตะแกรงจะต้องมีน้ำหล่อไว้เสมอ เมื่อเทเยื่อลงไปในตะแกรงพยายามทำให้เยื่อมีความสม่ำเสมอทั่วทั้งแผ่นตะแกรงโดยการส่ายตะแกรงเยาๆ หลังจากนั้นให้ยกตะแกรงขึ้นจากน้ำ แล้วนำไปผึ่งให้แห้งโดยให้ผึ่งลม ไม่ควรนำไปผึ่งแดด












เส้นทางเว็บไซต์
* การปรับภูมิทัศน์ ปลูกพันธุ์ไม้ และติดป้าย ในการทำศูนย์เรียนรู้
* การอบรม “การผลิตอาหารข้น แร่ธาตุก้อนเพื่อลดต้นทุน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการเลี้ยงแพะ-แกะ”
* การแปรรูปสัตว์น้ำจืด
* เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า (น้ำตีผลา)
* เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า (เค้กไข่ใต้หวัน)
* อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเส้นใยจากของเหลือการเกษตร
* การอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสื่อวิดีโอคลิปด้วยมือถือเพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่ในการเผยแพร่ศาสตร์พระราชาฯ
* การผลิตเห็ดฟางและเห็ดโคนน้อยด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
* การเพิ่มศักยภาพการเพาะเลี้ยงปลากัด
* การผลิตผักปลอดภัยโดยวิธีผสมผสาน
* การผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง
* เทคนิคการสร้าง Content และ Fanpage

จำนวนผู้เข้าชม 225 คน
©2021 กลุ่มวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน (IT4CD)
All Rights Reserved. ติดต่อ orasa.t@nrsu.ac.th