ขั้นตอนที่ 1 ผสมขี้เลื่อย (ไม้ยางพารา)

ขี้เลื่อย 100  กิโลกรัม
รำละเอียด 3 - 6  กิโลกรัม
ปูนขาว 1 กิโลกรัม
ดีเกลือ 0.2 กิโลกรัม
ยิปซัม 0.2 - 0.5 กิโลกรัม
น้ำสะอาด 60 - 75 เปอร์เซ็นต์

*ตามฟาร์มเห็ดทั่วไปแล้วนิยมใช้ ขี้เลื่อยไม้ยางพารา  ซึ่งเป็นขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนและมีสารอาหารที่มีคุณค่าในการเพาะเห็ดมาก แต่ถ้าไม่มีจะใช้ขี้เลื่อยไม้ชนิดใดก็ได้

เติมน้ำลงไปประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ ทดสอบโดยการกำขี้เลื่อยที่ผสมแล้ว แน่นๆ สังเกต ดังนี้
1.) ถ้ามีน้ำไหลซึมตามง่ามนิ้วมือ แสดงว่าน้ำมากเกินไป
2.) เมื่อบีบแล้วไม่มีน้ำไหลตามง่ามนิ้วมือ ให้แบมือออก ถ้าขี้เลื่อยแตกออกเป็น
3.) ก้อน ถือว่าพอดี แต่ถ้าแบมือออกแล้ว ขี้เลื่อยไม่จับตัวเป็นก้อน แสดงว่า น้ำน้อยเกินไป

ขั้นตอนที่ 2 การกรอกขี้เลื่อย

* เมื่อผสมเรียบร้อยแล้ว ให้กรอกขี้เลื่อยใส่ถุง อัดหรือทุบให้แน่น สูงประมาณ 2 ใน 3 ของถุง
* รวบปากถุง หลวมๆ กระทุ้งกับพื้นให้แน่นพอสมควร แล้วใส่คอขวด

ลักษณะของถุงที่กรอก

ใส่คอขวด
ดึงปากถุงลงมา
ปิดด้วยจุกให้เรียบร้อย

ขั้นตอนที่ 3 การนึ่งหัวเชื้อ

ในการนึ่งโดยทั่วไปมี 2 แบบ ดังนี้
1. นึ่งแบบอัดความดัน เมื่อได้อุณหภูมิ 121 องศา, ความดัน 15 ปอนด์ จับเวลานาน 30 นาที

หม้อนึ่งแรงดันไอน้ำ
หม้อนึ่งแรงดันไอน้ำ

2. นึ่งแบบไม่อัดความดัน เช่น ตู้นึ่งไอน้ำ เมื่ออุณหภูมิอยู่ที่ 100 องศา จับเวลานาน 3 – 4 ชั่วโมง ขึ้นอยู่กับปริมาณก้อนขี้เลื่อยอาหารเห็ด

ตู้นึ่งไอน้ำ
วางก้อนเชื้อชั้นบนสุดแบบนอน
หม้อนึ่งลูกทุ่ง

ขั้นตอนที่ 4 การหยอดเชื้อเห็ด

เตรียมห้องหยอดเชื้อ
1. บริเวณที่ลมสงบ ไม่มีแสงแดดส่อง ควรมีฉากหรือม่านกั้นเป็นสัดส่วน
2. พื้นเรียบ จะเป็นไม้ก็ได้ พื้นคอนกรีตยิ่งดี ไม่ร้อนมากนัก
3. ฉีดพ่นแอลกอฮอล์ให้ทั่วบริเวณทั้งพื้นห้อง ฝาห้อง ในอากาศ

การหยอดหัวเชื้อ

1. ฉีดพ่นแอลกอฮอล์ที่มือของผู้ที่จะหยอดทั้ง 2 มือ  รวมทั้งบริเวณภายนอกของขวดเชื้อด้วย
2. เปิดจุกประหยัด หยอดเชื้อ (เมล็ดข้าวฟ่าง) ลงในคำถุงก้อนเชื้อประมาณ 20 - 25 เมล็ด อย่างรวดเร็วแล้วรีบปิดฝาด้วยจุกอันเดิม อย่างรวดเร็ว
3. หยอดก้อนต่อไป จนเชื้อหมดขวด จึงเปิดขวดเชื้อขวดใหม่   (ฉีดพ่นแอลกอฮอล์ทุกครั้งที่เปลี่ยนขวดใหม่)
4. ถ้าเป็นแบบที่ไม่ใช้จุกประหยัด ให้เปิดจุกออกก่อน แล้วดึงสำลีออกจึงหยอดเชื้อลงไปแล้วปิดด้วยสำลีชิ้นเดิม (ฆ่าเชื้อแล้ว)
5. ปิดด้วยกระดาษ 4 x 4 แล้วรัดด้วยยางวง
6. ทำจนครบทุกก้อนในคราวเดียวกัน ห้ามเก็บไว้หยอดวันต่อไป

ตั้งไว้ให้เย็น 24 ช.ม.
เชื้อที่เคาะให้ร่วนสะดวกในการกรอก
หยอดเชื้อใส่ก้อนละ 20-25 เม็ด
ขั้นตอนสุดท้ายหลังจากหยอดเชื้อเสร็จ
แบบที่ 1
ขั้นตอนสุดท้ายหลังจากหยอดเชื้อเสร็จ
แบบที่ 2

ขั้นตอนที่ 4 การหยอดเชื้อเห็ด

บริเวณที่ลมสงบ ไม่มีแดดส่อง มีฉากหรือม่านกั้น
ในตู้เขี่ยเชื้อ

โดย ผศ.ดร.ปัณณวิชญ์ เย็นจิตต์
สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ (เทคโนโลยีการผลิตพืช)
คณะเทคโนโลยีการเกษตรและเทคโนโลยีอุตสาหกรรมมหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์

จำนวนผู้เข้าชม 694 คน
©2020 กลุ่มวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน (IT4CD)
All Rights Reserved. ติดต่อ orasa.t@nrsu.ac.th