1. ชนิดของอาหารสำเร็จรูป

ชนิดของอาหารสำเร็จรูปของปลาสวยงามที่มีจำหน่ายตามท้องตลาดมีอยู่ 3 ประเภท
1.1 อาหารเม็ดจมน้ำ
อาหารชนิดนี้เหมาะสำหรับปลาสวยงามที่หากินอาหารตามพื้นก้นตู้เช่นปลาหมู ปลาปล้องอ้อย ปัจจุบันไม่ค่อยนิยมใช้เพราะปลากินไม่ทัน อาหารจะตกค้างลงในวัสดุกรองมาก มักมีปัญหาเรื่องน้ำเน่าเสีย

1.2 อาหารเม็ดลอยน้ำ
อาหารชนิดนี้เหมาะสำหรับปลาทุกประเภท มักมีคุณสมบัติลอยตัวอยู่ผิวน้ำได้ประมาณ 3 - 5 ชั่วโมง แล้วแต่ชนิดอาหาร ทำให้ปลากินอาหารได้ดี และผู้เลี้ยงสังเกตุได้ว่าให้อาหารพอเพียงหรือไม่ ปัจจุบันจึงมักผลิตเป็นอาหารเม็ดลอยน้ำ

1.3 อาหารผง
อาหารชนิดนี้เหมาะสำหรับใช้อนุบาลลูกปลา มีลักษณะเป็นผงละเอียด อาจให้กระจายตัวที่ผิวน้ำหรือผสมน้ำหมาดๆปั้นเป็นก้อนก็ได้ โดยถ้าเป็นลูกปลากินพืช เช่น ลูกปลาตะเพียนทอง ลูกปลาทอง และลูกปลาคาร์ฟ ควรให้กระจายตัวที่ผิวน้ำ แต่ถ้าเป็นลูกปลากินเนื้อ เช่น ลูกปลาแขยง และลูกปลาดุก ควรปั้นก้อนให้ อาหารชนิดนี้จำเป็นสำหรับผู้เลี้ยงปลาสวยงามที่ผลิตลูกปลาออกจำหน่าย

2. วัตถุดิบที่ใช้ในอาหารสัตว์น้ำสำเร็จรูป
การทำอาหารสัตว์น้ำสำเร็จรูปขึ้นเองภายในฟาร์ม จะต้องคำนึงถึงคุณภาพและราคาของอาหาร อาหารที่มีคุณภาพดีควรมีโภชนะครบถ้วนใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง ซึ่งทำให้สัตว์น้ำย่อยได้ดี และปลอดจากสารพิษ นอกจากนี้ราคาไม่ควรแพงมากจนทำให้ต้นทุนการผลิตสูงเกินไป

2. วัตถุดิบที่ใช้ในอาหารสัตว์น้ำสำเร็จรูป
การทำอาหารสัตว์น้ำสำเร็จรูปขึ้นเองภายในฟาร์ม จะต้องคำนึงถึงคุณภาพและราคาของอาหาร อาหารที่มีคุณภาพดีควรมีโภชนะครบถ้วนใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพสูง ซึ่งทำให้สัตว์น้ำย่อยได้ดี และปลอดจากสารพิษ นอกจากนี้ราคาไม่ควรแพงมากจนทำให้ต้นทุนการผลิตสูงเกินไป

สัตว์น้ำต้องการโภชนะจากอาหารประมาณ 40 ชนิด ซึ่งประกอบด้วย
1. โปรตีนและกรดอะมิโน (กรดอะมิโนที่จำเป็นที่มีในอาหารมีประมาณ 10 ชนิด)
2. สารจำเป็นที่มาจากไขมัน (กรดไขมันที่จำเป็น ฟอสโฟลิปิดและสเตอรัล)
3. พลังงาน (โปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต)
4. วิตามิน (ละลายน้ำ 11 ชนิด และละลายในไขมัน 4 ชนิด)
5. แร่ธาตุ (10 ชนิด)


เมื่อทราบว่าสัตว์น้ำแต่ละชนิดต้องการโภชนะอะไรบ้างก็จำเป็นต้องจัดหาโภชนะเหล่านั้นให้แก่สัตว์น้ำอย่างครบถ้วน โภชนะเหล่านี้ได้จากวัตถุดิบ ที่นำมาทำเป็นอาหารสัตว์น้ำนั่นเอง วัตถุดิบมีมากมายหลายชนิดซึ่งมีคุณภาพแตกต่างกันทั้งในด้านคุณค่าอาหารและการย่อยได้ วัตถุดิบสามารถแบ่งออกได้ 5 ประเภทใหญ่ๆ คือ

2.1 วัตถุดิบที่ใช้เป็นแหล่งโปรตีน
วัตถุดิบประเภทนี้ต้องมีโปรตีนมากกว่า 20% สามารถแบ่งออกได้ 2 แหล่งใหญ่ๆ คือ
1. แหล่งโปรตีนจากสัตว์ ได้แก่ ปลาป่น ปลาสด เลือดป่น ขนไก่ป่น เนื้อกระดูกป่น กุ้งป่น เศษไก่ป่น ไส้ไก่ หัวไก่ ปูป่น ผลิตภัณฑ์จากนม ฯลฯ
2. แหล่งโปรตีนจากพืช ได้แก่ กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง กากเม็ดฝ้าย กากมะพร้าวอัด กากงา กากองุ่น ใบกระถินป่น โปรตีนสกัดเข้มข้นจากข้าวโพดจากข้าวสาลี ฯลฯ

2.2 วัตถุดิบที่ใช้เป็นแหล่งพลังงาน
วัตถุดิบประเภทนี้มีโปรตีนต่ำกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ แต่มีคาร์โบไฮเดรตหรือแป้งสูง ได้แก่ เมล็ดและผลิตภัณฑ์ของเมล็ดธัญพืช เช่น ข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ข้าวสาลี ข้าวโอ้ต และรำของเมล็ดธัญพืชโปรตีนของวัตถุดิบเหล่านี้มีค่าระหว่าง 8-12 เปอร์เซ็นต์ มีแป้งในปริมาณสูงถึง 60-80 เปอร์เซ็นต์ และไขมันมีค่าระหว่าง 1-8 เปอร์เซ็นต์
ข้อพึงสังเกตของวัตถุดิบประเภทนี้น่าสนใจคือ มีคุณสมบัติเป็นตัวประสานอาหารเข้าด้วยกันหรือใช้เป็นสารเหนียว (บายเดอร์)

2.3 วัตถุดิบจำพวกวิตามินและแร่ธาตุ
วิตามินและแร่ธาตุที่ใช้เป็นส่วนผสมของอาหารมักอยู่ในรูปสารประกอบเคมี และเนื่องจากเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในปริมาณน้อยมากในสูตรอาหาร จึงทำให้เกิดปัญหาในการผสมให้ทั่วถึงในทุกๆ ส่วน ดังนั้น จึงไม่นิยมผสมวิตามินและแร่ธาตุแต่ละตัวลงในอาหารโดยตรง วิตามินและแร่ธาตุจึงมักูกผสมไว้ก่อนล่วงหน้ากับสื่อบางชนิด เช่น กากถั่วเหลือง รำ แกลบบด หรือหินปุน แล้วเรียกสารผสมเหล่านี้ว่า "สารผสมล่วงหน้า (พรีมิกซ์)" บางครั้งเรียกว่า "อาหารเสริม" แล้วจึงนำสารผสมล่วงหน้านี้ไปผสมกับอาหารต่อไป ในบางท้องที่ที่เกษตรกรหาซื้อสารผสมล่วงหน้าที่ใช้เฉพาะสำหรับสัตว์น้ำไม่ได้ ก็อาจใช้สารผสมล่วงหน้าที่ทำขึ้นเพื่อผสมกับอาหารหมูหรือไก่แทนได้ แต่อย่างไรก็ตามในสารผสมล่วงหน้าที่ใช้สำหรับสัตว์บก มักจะมีวิตามินดีสูงเกินไป และอาจไม่มีวิตามินซีในส่วนผสม ซึ่งวิตามินซีมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสัตว์น้ำทุกชนิด ดังนั้นจึงควรที่จะใช้เป็นหลักในการพิจารณาเลือกซื้อ

2.4 วัตถุดิบจำพวกไขมัน หรือน้ำมัน
เป็นวัตถุดิบที่ใช้พลังงาน กรดไขมันที่จำเป็น วิตามินที่ละลายในไขมันและบางครั้งใช้เป็นสารแต่งกลิ่นอาหารเพื่อกระตุ้นให้สัตว์น้ำกินอาหารได้มากขึ้น น้ำมันที่ใช้ผสมอาหารสัตว์น้ำ แบ่งเป็น 2 พวกใหญ่ๆ คือ
1. น้ำมันจากสัตว์ ได้แก่ น้ำมันปลา น้ำมันปลาหมึก น้ำมันหมู ฯลฯ
2. น้ำมันพืช ได้แก่ น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันข้าวโพด น้ำมันปาล์ม น้ำมันถั่วลิสง น้ำมันเมล็ดทานตะวัน ฯลฯ

วัตถุดิบจำพวกเสริมคุณภาพของอาหาร
วัตถุดิบจำพวกนี้ใช้ผสมในอาหารเพื่อวัตถุประสงค์อื่นที่ไม่ใช่เพิ่มคุณค่าทางโภชนาการของอาหาร ถึงแม้ว่าบางครั้งใช้เพื่อวัตถุประสงค์ในการเสริมคุณภาพแต่ตัวมันเองมีคุณค่าอาหารอยู่ด้วย วัตถุดิบจำพวกนี้แบ่งออกได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. สารเหนียวหรือบายเดอร์หรือสารประสานอาหาร เป็นสารที่ช่วยทำให้อาการคงทนในน้ำได้นาน การใช้สารเหนียวมีความจำเป็นอย่างยิ่งในการทำอาหารสำหรับสัตว์น้ำที่กินอาหารช้า ๆ เช่น กุ้ง สารเหนียวสามารถแบ่งออกได้ 3 ชนิดใหญ่ๆ คือ เป็นสารพวกโปรตีน สารพวกคาร์โบไฮเดรต และสารสังเคราะห์ หรือสารธรรมชาติที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร
2. เป็นสารที่ช่วยเพิ่มกลิ่นและรสของอาหารให้มีความน่ากินมากขึ้นกลิ่นในอาหารที่สัตว์น้ำชอบมักเป็นกลิ่นที่มีในอาหารตามธรรมชาติของมัน เช่น ปลาที่กินเนื้อเป็นอาหาร จะชอบกลิ่นของเนื้อกุ้ง หอย ปู ปลา ปลาหมึก ฯลฯ ซึ่งกลิ่นเหล่านี้สามารถหาได้จากเศษชิ้นส่วนหรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปแล้วของสัตว์ต่าง ๆ ดังกล่าว เช่น น้ำมันปลา น้ำมันปลาหมึก หัวและเปลือกของกุ้งป่น เศษปลาหมึกป่น ตับวัวป่น ฯลฯ

ที่มา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จงดี ศรีนพรัตน์วัฒน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จามรี เครือหงษ์
อาจารย์สุรภี ประชุมพล

เส้นทางเว็บไซต์
* การปรับภูมิทัศน์ ปลูกพันธุ์ไม้ และติดป้าย ในการทำศูนย์เรียนรู้
* การอบรม “การผลิตอาหารข้น แร่ธาตุก้อนเพื่อลดต้นทุน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการเลี้ยงแพะ-แกะ”
* การแปรรูปสัตว์น้ำจืด
* เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า (น้ำตีผลา)
* เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า (เค้กไข่ใต้หวัน)
* อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเส้นใยจากของเหลือการเกษตร
* การอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสื่อวิดีโอคลิปด้วยมือถือเพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่ในการเผยแพร่ศาสตร์พระราชาฯ
* การผลิตเห็ดฟางและเห็ดโคนน้อยด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
* การเพิ่มศักยภาพการเพาะเลี้ยงปลากัด
* การผลิตผักปลอดภัยโดยวิธีผสมผสาน
* การผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง
* เทคนิคการสร้าง Content และ Fanpage

จำนวนผู้เข้าชม 127 คน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
398 หมู่ 9 ถ.สวรรค์วิถี ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000

©2021 กลุ่มวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน (IT4CD)
All Rights Reserved. ติดต่อ orasa.t@nrsu.ac.th