สูตรอาหารปลากัดอายุ 1.5 เดือนขึ้นไป

ส่วนผสม (สำหรับอาหาร 1 กิโลกรัม)
1.ยีสต์ขนมปัง 10 กรัม
2.น้ำมันปลาทะเล 24 กรัม
3.น้ำมันถั่วเหลือง 24 กรัม
4.ปลาป่น 500 กรัม
5.กากถั่วเหลืองบดละเอียด 190 กรัม
6.สารเหนียว 150 กรัม
7.ปลายข้าวบดละเอียดหรือแป้งข้าวเหนียว 100 กรัม
8.วิตามินและแร่ธาตุรวม 2 กรัม

ที่มา พิสมัย (2560)

วิธีการทำ
1. ร่อนแยกส่วนปลอมปนออกจากปลาป่น กากถั่วเหลือง เช่น กรวด ทราย กระดูกและเกล็ดปลา
2. บดวัตถุดิบที่เป็นส่วนผสมให้ละเอียดเป็นผงแบบแป้ง
3. ชั่งน้ำหนักส่วนผสมตามสูตร
4. นำวัตถุดิบที่มีปริมาณน้อยได้แก่ วิตามิน สารเหนียว วิตามินและแร่ธาตุรวม ยีสต์ มาใส่รวมกันในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ เพื่อเขย่าให้กระจายอย่างทั่วถึง
5. นำวัตถุดิบส่วนที่เหลือ ยกเว้นน้ำมันมาผสมรวมกันให้กระจายตัวดี แล้วจึงนำส่วนผสมข้อ 4 มาผสมรวมกันให้เข้ากันดีอีกครั้ง
6. นำส่วนผสมที่ได้มาใส่ในเครื่องผสมอาหารหรือภาชนะ เช่น กะละมัง ค่อย ๆ เทน้ำมันช้า ๆ เพื่อให้กระจายทั่วถึงแล้วปิดเครื่องผสมหรือใช้มือผสมคลุกเคล้ากันดี
7. นำอาหารที่ผสมเสร็จแล้วเก็บในที่แห้งเย็น ถ้าเก็บในตู้เย็นจะเก็บได้นานประมาณ 1 เดือน
8. การนำไปใช้ หากต้องการปั้นก้อน ให้ผสมน้ำประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์ อาหารจะเป็นก้อนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง หรือสามารถนำไปอัดเม็ดโดยใช้เครื่องบดเนื้อแบบมือหมุน เลือกหน้า

นอกจากนี้ยังมีอาหารสัตว์น้ำวัยอ่อนอื่น ๆ ที่เป็นที่น่าสนใจ จึงได้จัดทำเพื่อให้เกษตรกรสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ของตนเอง ในกรณีวัตถุดิบแตกต่างกันออกได้ ดังต่อไปนี้
สูตรอาหารปลาวัยอ่อนแบบง่าย

ส่วนผสม
สูตรที่ 1 ผสมอาหารกุ้งกุลาดำ (โปรตีน 38% ไขมัน 16%)
สูตรที่ 2 อาหารแผ่น (โปรตีน 38% ไขมัน 16%)
สูตรที่ 3 อาหารผง/ปั้นก้อน ได้อาหาร 1 กิโลกรัม
ไข่ไก่ (ทั้งฟอง)
4
-
-
นมผงเด็ก
5
5
-
ยีสต์ขนมปัง
2
2
10
แป้งสาลี
25
25
-
วุ้นผง
3
5
-
สาหร่ายสไปรูไลน่า
5
5
-
น้ำมันปลาทะเล
1
1
24
น้ำมันถั่วเหลือง
2
2
24
อาหารกุ้งกุลาดำบดละเอียด (40% โปรตีน)
44
-
-
น้ำสะอาด
80-100 cc
80-100 cc
-
ปลาป่น
-
-
500
กากถั่วเหลืองบดละเอียด
-
-
190
สารเหนียว (อัลฟ่าตาช)
-
-
150
ปลายข้าวบดละเอียดหรือแป้งข้าวเหนียว
-
-
100
วิตามินและแร่ธาตุรวม
-
-
2
ที่มา พิสมัย (2560)

วิธีการทำ
สูตรที่ 1
1. นำไข่มาตีจนขึ้นฟองแล้วนำนมผงและน้ำมันมาใส่แล้วตีผสมให้เข้ากัน
2. น้ำส่วนผสมที่เหลือมาตีผสมให้เข้ากัน
3. นำไปนึ่งจนสุก วางทิ้งไว้ให้อุ่น
4. นำมาทำให้มีขนาดเล็กลงตามที่ต้องการหรือเหมาะสมกับขนาดปลาโดยการกดผ่านตะแกรงขนาดต่าง ๆ
5. นำไปทำให้แห้งโดยการอบที่อุณหภูมิ 110 องศาเซลเซียส 15 นาทีแล้วลดอุณหภูมิลงเหลือ 50 ประมาณ 20-30 นาทีหรือจนกว่าจะแห้ง หรือนำไปเข้าตู้ไมโครเวฟอุ่นอาหาร 2-5 นาทีโดยเกลี่ยอาหารให้บาง ๆ วางอาหารให้เย็นเก็บใส่ในภาชนะและเก็บในตู้เย็นจะช่วยให้เก็บรักษาอาหารได้นานประมาณ 1 เดือน เนื่องจากอาหารมีไขมันสูงจะหืนง่ายหากเก็บที่อากาศร้อน

วิธีการทำ
สูตรที่ 2
1. ให้นำส่วนผสมทั้งหมดมาตีให้เข้ากันดี ยกเว้นวุ้นแยกไว้ต่างหาก
2. นำวุ่น (5 กรัม ตามสูตร) ใส่น้ำร้อน 50 มิลลิลิตร คนให้ละลายแล้วนำไปผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันดี สังเกตดูว่าอาหารสามารถปั้นก้อนได้ หากยังร่วนให้เติมน้ำเพิ่มเล็กน้อยและผสมคลุกเคล้าใหม่จนปั้นก้อนได้
3. นำอาหารปั้นก้อนมาทำเป็นแผ่นบาง โดยเตรียมอุปกรณ์ทำแผ่นจากการนำท่อ pvc ยาว 30-40 เซนติเมตร มาพันด้วยแผ่นพลาสติกให้ตึงแน่นและปูด้วยแผ่นพลาสติกใสเรียบเช่นกัน แล้วนำก้อนอาหารมาคลึงให้เป็นแผ่นบางด้วยการกลิ้งท่อ pvc ซ้ำ ๆ เพื่อให้อาหารเป็นแผ่นบางที่สุด แล้วค่อย ๆ แกะดึงแยกมาใส่ถาดเพื่อทำให้แห้งด้วยการอบ หรือ ไมโครเวฟ 1 นาที แล้วเป่าให้แห้งด้วยพัดลม กรณีทำอาหารใส่สาหร่ายสไปรูลิน่า ควรใช้ระยะเวลา 10-20 วินาที เพื่อลดการสูญเสียอาหาร

วิธีการทำ
สูตรที่ 3
1. ร่อนแยกส่วนปลอมปน เช่น กรวด ทราย กระดูกและเกล็ดปลา
2. บดวัตถุดิบที่เป็นส่วนผสมให้ละเอียดเป็นผงแบบแป้ง
3. ชั่งน้ำหนักส่วนผสมตามสูตร
4. นำวัตถุดิบที่มีปริมาณน้อยได้แก่ วิตามิน สารเหนียว วิตามินและแร่ธาตุรวม ยีสต์ มาใส่รวมกันในถุงพลาสติกขนาดใหญ่ เพื่อเขย่าให้กระจายอย่างทั่วถึง
5. นำวัตถุดิบส่วนที่เหลือ ยกเว้นน้ำมันมาผสมรวมกันให้กระจายตัวดี แล้วจึงนำส่วนผสมข้อ 4 มาผสมรวมกันให้เข้ากันดีอีกครั้ง
6. นำส่วนผสมที่ได้มาใส่ในเครื่องผสมอาหารหรือภาชนะ เช่น กะละมัง ค่อย ๆ เทน้ำมันช้า ๆ เพื่อให้กระจายทั่วถึงแล้วปิดเครื่องผสมหรือใช้มือผสมคลุกเคล้ากันดี
7. นำอาหารที่ผสมเสร็จแล้วเก็บในที่แห้งเย็น ถ้าเก็บในตู้เย็นจะเก็บได้นานประมาณ 1 เดือน
8. การนำไปใช้ หากต้องการปั้นก้อน ให้ผสมน้ำประมาณ 25-30 เปอร์เซ็นต์ อาหารจะเป็นก้อนอย่างน้อย 1 ชั่วโมง

ที่มา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จงดี ศรีนพรัตน์วัฒน
ผู้ช่วยศาสตราจารย์จามรี เครือหงษ์
อาจารย์สุรภี ประชุมพล

เส้นทางเว็บไซต์
* การปรับภูมิทัศน์ ปลูกพันธุ์ไม้ และติดป้าย ในการทำศูนย์เรียนรู้
* การอบรม “การผลิตอาหารข้น แร่ธาตุก้อนเพื่อลดต้นทุน และการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากการเลี้ยงแพะ-แกะ”
* การแปรรูปสัตว์น้ำจืด
* เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า (น้ำตีผลา)
* เทคโนโลยีการแปรรูปอาหารปลอดภัยเพื่อเพิ่มมูลค่า (เค้กไข่ใต้หวัน)
* อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างเส้นใยจากของเหลือการเกษตร
* การอบรมเชิงปฏิบัติการสร้างสื่อวิดีโอคลิปด้วยมือถือเพื่อเพิ่มศักยภาพของเกษตรกรรุ่นใหม่ในการเผยแพร่ศาสตร์พระราชาฯ
* การผลิตเห็ดฟางและเห็ดโคนน้อยด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร
* การเพิ่มศักยภาพการเพาะเลี้ยงปลากัด
* การผลิตผักปลอดภัยโดยวิธีผสมผสาน
* การผลิตเมล็ดพันธุ์ไว้ใช้เอง
* เทคนิคการสร้าง Content และ Fanpage

จำนวนผู้เข้าชม 165 คน
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์
398 หมู่ 9 ถ.สวรรค์วิถี ต.นครสวรรค์ตก อ.เมือง จ.นครสวรรค์ 60000

©2021 กลุ่มวิจัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาชุมชน (IT4CD)
All Rights Reserved. ติดต่อ orasa.t@nrsu.ac.th